วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

แม่ครับ....ผมรัก " แม่ "

พระพุทธเจ้า 10 ชาติ

๑๐๐ ธรรม

๑. จงทำดี อย่าหวังค่าตอบแทน ถึงแม้จะเป็นเพียงคำสรรเสริญก็ตาม

๒. จงทำดี ให้มันดี ถึงแม้ผลงานออกมาไม่ดี ก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว

๓. จงทำดี แต่อย่าอวดดี เพราะทุกคนก็มีดีไม่เหมือนกัน

๔. อุปสรรคมักจะเกิดขึ้นในขณะที่กำลังทำความดี ดีเหลือเกินหนี้สินเก่าจะได้หมดไป

๕. อุปสัคมักจะไม่เกิดขึ้นในขณะกำลังทำความชั่ว เพราะเป็นทางกู้หนี้สินใหม่เข้ามาแทน

๖. ทุกๆ คนปรารถนาแต่สิ่งที่ดี ๆ แต่ไม่รู้จักการทำความดี

๗. ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าพยายามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

๘. คนโง่ไม่มีความพยายามที่จะเข้าใจอะไรได้เลย ได้แต่เอะอะโวยวายว่า “ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไม ? ถึงต้องเป็นเรา ทำไม ? ทำไม ?

๙. ผู้ฉลาดในธรรม ยอมรับว่า “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งไม่มีอะไรที่น่าตกใจเลย เพราะเป็นเรื่องธรรมดา


๑๐. ชีวิตที่ไม่ขาดทุน คือการไม่เคยทำความชั่วเลย

๑๑. เพราะฉะนั้นคนเราเจอทั้งสุขและทุกข์ เพราะว่าทำทั้งดี ทำทั้งชั่ว

๑๒. การตามใจตัวเองอยู่เสมอ เป็นทางตันในการดำเนินชีวิต

๑๓. การขัดใจตัวเอง ก็คือการขัดเกลาหนทางให้ราบเรียบ

๑๔. ถ้าหากเราอยากให้คนอื่นมาเข้าใจหรือเอาใจในตัวเรา เหมือนกับว่าเรายังเป็นเด็กไร้เดียงสาไม่รู้จักเติบโตเลย

๑๕. เราพยายามที่จะเข้าใจคนอื่น มากกว่าที่จะให้คนอื่นมาเข้าใจ ตอนนี้ เรากำลังจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว

๑๖. หลายๆ ชีวิต เดินสวนทางกันไปมาอยู่ในขณะนี้ มีทางดำเนินชีวิตไม่เหมือน และก็มีอุปสรรคที่ไม่เหมือนกัน

๑๗. เราอย่าเข้าใจว่า มีความทุกข์มากกว่าคนอื่น คนอื่นมีความทุกข์มากกว่าเราก็ยังมี

๑๘. การร้องไห้เป็นการแสแสร้งที่แบบเนียนเหลือเกินในวัน เพราะพรุ่งนี้เราจะร้องเพลงก็ได้

๑๙. เพราะฉะนั้น เวลาเรามีความทุกข์ ก็อย่าเข้าใจว่า เรามีความทุกข์ เวลาเรามีความสุข ก็อย่าเข้าใจว่า เรามีความสุข ไม่เช่นนั้นเราต้องเป็นคนบ้า ร้องไห้บ้าง ร้องเพลงบ้าง ตามประสาคนบ้า

๒๐. คนอื่นจะให้ได้ดังใจเรานั้น ทุกอย่างไม่มีเลย เพียงแต่เรายอมรับเขา อยู่ในฐานะใดฐานะหนึ่งเท่านั้น

๒๑. แม้แต่ตัวของเราเองก็ยังไม่ได้ดังใจเรา แล้วคนอื่นจะให้ได้ดังใจเรานั้น เป็นอันไม่มี

๒๒. เราไม่ได้ดังใจเขา จะให้เขาได้ดังใจเราอย่างไร

๒๓. ปรารถนาสิ่งใด อย่าพึงดีใจไว้ล่วงหน้า พลาดหวังสิ่งใด อย่าพึงเสียใจตามหลัง

๒๔. ทุกสิ่งทุกอย่าง มันเป็นเช่นนั้นเอง

๒๕. หากยึดถือมาก ให้ความสำคัญมันมาก ทุกข์มาก

๒๖. หากยึดถือน้อย ให้ความสำคัญมันน้อย ทุกข์น้อย

๒๗. ยินดีไปตามความอยาก คือความมักมากไม่มีสิ้นสุด

๒๘. แท้จริง ผัว ไม่มี เมียไม่มี ลูกไม่มี ทรัพย์สมบัติก็ไม่มี แต่ความยึดมั่นด้วยความลุ่มหลงอย่างหนาแน่นว่าเรามี

๒๙. สักวันหนึ่ง เราคงจะไม่มีอะไรสักอย่างเลย ถึงวันนั้น เราทำใจได้ไหม ?

๓๐. การเกิดขึ้น เพื่อเริ่มต้นไปสู่ความดับลง ท่านจะยึดถือ หรือไม่ยึด นั้นมันเป็นเรื่องของท่าน


๓๑. อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น กับความรับผิดชอบ มันคนละอย่างกัน

๓๒. วันนี้ต้องดีกว่าวานนี้ พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้

๓๓. ทำดีในวันนี้ พรุ่งนี้จะดีของมันเอง

๓๔. คนโง่จะเสียใจ ร้องไห้ตลอดวัน โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

๓๕. ส่วนคนฉลาด จะรีบแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เท่าที่จะทำได้

๓๖. เรารักในสิ่งใด จะต้องจากในสิ่งนั้น ช้าหรือเร็วมันอีกเรื่องหนึ่ง

๓๗. ถ้าผัวตายก่อนเมีย เมียจะต้องเสียใจ ถ้าเมียตายก่อนผัว ผัวจะต้องเสียใจ ทำอย่างไร จึงจะไม่เสียใจ

๓๘. ถ้าไม่อยากเสียใจ เมื่อจากกันไป ก็อย่าดีใจเมื่อตอนได้มา

๓๙. ท่านแน่ใจหรือว่าท่านเป็นพระเอกหรือนางเอกตลอดนิรันดรกาล

๔๐. ใช่แน่นอน ! ท่านเป็นตัวเอกในเรื่องของท่าน แต่ท่านอาจจะเป็นตัวสำรองในเรื่องของผู้อื่น

๔๑. เรายืนอยู่บนสนามชีวิต ต้องต่อสู้อุปสัคทุกรูปแบบ จนกว่าจะปิดฉากละครแห่งชีวิต ด้วยการตายลงไป

๔๒. บทเรียนในตำราเรียน กับบทเรียนในชีวิตจริง มันคงละอย่างกัน

๔๓. ไม่มีตำราเล่มไหน ที่จะสอนเราทุกอย่างก้าวว่าวันนี้เราจะต้องเจออะไรบ้าง และจะต้องแก้อย่างไร ?

๔๔. เสียเงินทอง เสียสิ่งของ เสียเวลา และก็เสียใจ เป็นการจ่ายค่าเทอมชีวิต

๔๕. คนฉลาดจะจ่ายค่าเทอมที่ถูกที่สุด ส่วนคนโง่จะจ่ายค่าเทอมที่แพงกว่ากัน

๔๖. ที่จริงคนตาบอด พิกลพิการเขาน่าจะเป็นทุกข์มากกว่าเรา ทำไม ? เขายังยิ้มแย้มแจ่มใสได้

๔๗. ทำไมเราจึงทุกข์กว่าคนพิกลพิการเล่า ?

๔๘. กายพิการ แต่ใจไม่พิการ ใจพิการ แต่กายไม่พิการ อย่างไหนดีกว่ากัน ?

๔๙. เราสามารถตัดสินหนทางดำเนินชีวิตของเราเองได้ ดีหรือชั่ว อยู่ที่ตัวของเรา

๕๐. คนอื่นสามารถบังคับเราเป็นเพียงบางเวลา ส่วนใจของเรานั้น ไม่มีใครสามารถบังคับได้นอกจากตัวของเราเท่านั้น

๕๑. ถึงแม้งานจะสับสนยุ่งยากเหลือเกิน หากใจมีอิสระแล้ว ไม่เห็นจะยุ่งยากตรงไหน

๕๒. ทุกคนเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ ตายเพื่อทำหน้าที่ ดีกว่าตายเพราะไม่ทำหน้าที่

๕๓. รับผิดชอบตัวเอง รับผิดชอบเพื่อนที่ดี และรับผิดชอบสังคม

๕๔. วันนี้เราด่าเขา วันหน้าเขาต้องด่าเรา ชาตินี้เราฆ่าเขา ชาติหน้าเขาจะต้องฆ่าเราอย่างแน่นอน

๕๕. คนทำบาป เพราะเห็นแก่กิน ไม่ต่างอะไรกับกินอาหารผสมยาพิษอย่างเอร็ดอร่อย กินมากก็มีพิษมา กินน้อยก็มีพิษน้อย

๕๖. กฎหมายทางโลก คุ้มครองสัตว์บางจำพวกเท่านั้น ส่วนกฎแห่งกรรมทางธรรม คุ้มครองสัตว์ทุกจำพวก

๕๗. กฎระเบียบของทางโลก อนุโลมไปตามความอยาก ส่วนกฎทางธรรมอนุโลมไปตามความเป็นจริง

๕๘. กรรมคือการกระทำให้สัตว์หยาบ และละเอียดประณีตต่างกัน

๕๙. ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะสร้างเรา ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะทำให้เราร่ำรวยได้ ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะทำให้เราเป็นผู้บริสุทธิ์ได้นอกจากตัวของเราเอง

๖๐. คำว่า “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” มากเหลือเกินที่คนได้ยิน น้อยเหลือเกินที่คนรู้จัก

๖๑. เหตุการณ์ความเป็นไปของทางโลก ไม่มีสิ้นสุด เราไม่สามารถจะติดตามได้ตลอดกาลเพราะอายุยังมีที่สิ้นสุด เราจะบ้ากับมันหรือไม่บ้า มันก็เป็นไปอยู่อย่างนั้น

๖๒. เพื่อมิให้เสียเวลา จงกลับมามองดูจิตใจของตนเอง ทำไมถึงซอกแซกสับส่ายถึงขนาดนั้น

๖๓. มันเคยตัว เพราะเราให้โอกาสมันมากเกินไป เพราะรักมันมาก จึงไม่กล้าขัดใจ นานๆ ไปอาจกลายเป็นโรควิกลจริตทางด้านจิตใจ

๖๔. การเอาชนะใจตนเอง ไม่ให้ไหลสู่อำนาจฝ่ายต่ำ เป็นสิ่งประเสริฐแท้

๖๕. วันนี้ เราตามใจของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งความอยาก วันพรุ่งนี้ เราต้องหมดโอกาสที่จะสบายใจ

๖๖. วันนี้ เราไม่ตามใจตนเอง พรุ่งนี้ เราจะอยู่อย่างสบาย

๖๗. ยิ่งแก่ ยิ่งงก เพราะเขางกมาตั้งแต่ยังไม่แก่ ยิ่งแก่ ยิ่งดี เพราะเขาดีตั้งแต่ยังไม่แก่

๖๘. การวิ่งไปตามความอยาก คือการฆ่าตนเองด้วยความพอใจ

๖๙. ศัตรูมักมาในรูปรอยแห่งความเป็นมิตร ความทุกข์มักมาในรูปรอยแห่งความสุข

๗๐. น้ำหวานผสมยาพิษ คนโง่จะชอบดื่ม เพราะไม่รู้ ยาเสพติด ทำลายร่างกายตนเอง คนโง่ก็จะพากันเสพทั้งที่รู้

๗๑. ความสบายกายและสบายจิต จะหาซื้อด้วยเงินแสนเงินล้านไม่มีเลย ไม่จำเป็นจะต้องซื้อด้วยเงินและทอง

๗๒. คนที่มีศรัทธา มีคุณค่ายิ่งกว่าเงินแสนเงินล้าน

๗๓. เมื่อมีศรัทธา ควรมีปัญญาประกอบด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นคนงมงาย ขาดเหตุผล

๗๔. คนนิยมสร้างพุทธ ที่เป็นรูป คือพุทธรูป แต่ไม่นิยมสร้างพุทธ ที่เป็นนาม คือสภาวธรรมที่รู้แจ้ง รู้จริง ทำให้รู้จักพุทธะ

๗๕. ความจริงต้องมีให้พิสูจน์ จึงจะถือว่าจริงแน่นอน คนโง่จะไม่เชื่อตั้งแต่เริ่มต้น จึงไม่พบกับความจริงในชีวิต มีแต่ความงมงายในชีวิต

๗๖. คนใดถือสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ ถือสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระคนนั้นมีทางดำเนินในทางที่ผิด เขาจะไม่พบแก่นสารชีวิตที่แท้จริงเลย

๗๗. ผู้ที่หลงเปลือกนอก ย่อมไม่เห็นแก่นใน ผู้ถึงแก่นใน ย่อมเข้าใจเปลือกนอก

๗๘. ความสนุกสนานมัวเมาประมาทในชีวิต ไม่ใช่หนทางดำเนินชีวิตที่แท้จริง มันเป็นหนทางที่ทำให้เสียเวลา

๗๙. หากคนให้ความสำคัญกับการ กิน เล่น เสพกาม และนอน มากกว่าคุณธรรม เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานจะไม่ดีกว่ากันหรือ ? เพราะว่าไม่มีกฎหมายห้าม

๘๐. หากจิตใจเต็มด้วยความโลภ โกรธ หลง ช่องว่างในหัวใจไม่มี มีแต่ความอึดอัด


๘๑. อาหารที่กินเข้าไปมาก แสนจะอึดอัด แต่มีทางระบายออก

๘๒. ยิ่งความโลภ โกรธ หลง ลดลงมากเท่าไร ความปลอดโปร่ง ยิ่งมีขึ้นมากเท่านั้น

๘๓. แสงสว่างในทางธรรม จุดประกายให้ชีวิต ให้พบแต่ความสดใส

๘๔. ความสุขทางโลก เหมือนกับการเกาขอบปากแผลที่คัน ยิ่งเกายิ่งมัน เวลาหยุดเกา มันแสบมันคัน เพราะเป็นความสุขเกิดจากความเร่าร้อน

๘๕. เมื่อตอนที่อยากได้ ก็เป็นทุกข์ขณะที่แสวงหา ก็เป็นทุกข์ ได้มาแล้วกลัวฉิบหายไป ก็เป็นทุกข์

๘๖. เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็ต้องมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ย่อมไม่มี

๘๗. หากมีแล้ว ทำให้มีความสุข ควรมี ถ้าหากมีแล้ว ทำให้มีความทุกข์ ไม่รู้จะมีไว้ทำไม ?

๘๘. ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง เราไปยึดมั่นความไม่เที่ยงนั้นว่าความสุข

๘๙. แม้ความสุขนั้นมันก็ไม่เที่ยง จะไปหวังเอาอะไรอีกเล่า ?

๙๐. พบกันก็เพื่อจากกัน ได้มาก็เพื่อจากไป

๙๑. มองทุกข์ให้เห็นทุกข์ จึงจะมีความสุข

๙๒. ความเบาใจ คลายกังวล ย่อมมีได้ แก่บุคคลผู้เข้าใจธรรมะ

๙๓. ยิ่งเข้าถึงธรรมที่เป็นจริงมากเท่าใด ความเบาสบายใจยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

๙๔. เพราะความสุขทางโลก ไม่ให้อะไรมากไปกว่าความเพลิดเพลิน มัวเมา ประมาทในชีวิต จนลืมทางธรรม

๙๕. ทางเดิน ๒ ทาง ทางโลก และ ทางธรรม

๙๖. ทางโลก คือการปล่อยใจไปตามความอยากในโลกีย์ ทางธรรม คือการควบคุมใจตนเอง ให้มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง

๙๗. ผิดหวังทางโลก ยังมีทางธรรมคุ้มครอง หากคนนั้นรู้จักธรรม

๙๘. ผิดหวังทางโลก อยากทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งตนเอง คนนั้นแหละ ไม่รู้จักธรรม

๙๙. ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ควรยึดถือมั่น

๑๐๐. มันเป็นเช่นนั้นเอง.

ท่านเข้าใจแล้วหรือยัง สักวันหนึ่งท่านคงจะเข้าใจ


โรคกรรมหรือโรคกาย เรื่องโดย ท่าน ว.วชิรเมธี



ขณะนี้หนูป่วยเป็นโรคที่วินิจฉัยชัดเจนไม่ได้ว่าเป็นโรคอะไร เดือนนี้เป็นเดือนที่สิบแล้วค่ะ

ช่วงสามเดือนแรกที่เป็น หนูไปโรงพยาบาลอาทิตย์ละ ๒-๓ ครั้ง บางครั้งก็มากกว่า เพื่อตรวจหาอาการ ทั้งทางสูติฯ ทางเดินอาหาร แต่ก็ไม่พบอะไรผิดปกติ จนคุณหมอทางเดินอาหารแนะนำให้ไปพบแพทย์ทางด้าน Pain เพราะหนูปวดบริเวณช่องท้องด้านล่างค่ะ สุดท้ายคุณหมอสรุปว่าเป็นโรค Visceral Hyperalgesia ซึ่งเป็นการปวดเรื้อรังจากปลายประสาท

ช่วงแรกที่ป่วย หนูไม่ได้คิดอะไรนอกจากเมื่อไรจะหาย เพราะมันทรมานและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากค่ะ สุดท้ายไปดูดวงเขาบอกว่าอาการของหนูจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ดีขึ้น ไม่แย่ลง หนูเลยกลับมานั่งคิดว่า ที่ตัวเองต้องเป็นแบบนี้คงเป็นเพราะกรรมที่หนูก่อขึ้นมาเอง

หนูเคยทำแท้ง ๒ ครั้งค่ะ ครั้งแรกตอนอายุ ๑๗ กับแฟนคนแรก ด้วยความที่ยังเด็กจึงไม่ระวังเท่าที่ควร ตอนนั้นรู้อย่างเดียวว่า จะให้พ่อแม่รู้ไม่ได้ สำหรับแฟนเองก็ไม่ได้มีความคิดแม้กระทั่งว่าจะแต่งงานกัน ถึงแม้หนูจะแอบหวังว่าเขาจะรับผิดชอบ แต่ลึกๆ ก็รู้ว่าเขาไม่ต้องการ สุดท้ายจึงเลิกกัน เพราะหนูทนอยู่กับความรู้สึกผิดไม่ได้

ส่วนครั้งที่สองตอนหนูอายุประมาณ ๒๒-๒๓ กับแฟนที่เป็นคนไต้หวัน คราวนี้หนูยอมรับค่ะว่าประมาท เพราะช่วงที่ยังไม่รู้ว่าท้องก็ทานยาไปเยอะเหมือนกัน บวกกับความรู้สึกว่าเราไม่ได้รักผู้ชายคนนี้และไม่พร้อมจะสร้างครอบครัวกับเขา แม้ว่าแฟนคนนี้มีความคิดที่จะแต่งงานกับหนู แต่เขาเองก็กลัวและไม่กล้าบอกพ่อแม่หนูด้วย ทำให้หนูตัดสินใจเอาเด็กออก

หนูค่อนข้างมั่นใจว่าโรคที่หนูประสบอยู่เกิดจากกรรมที่หนูได้ทำไป ถึงแม้หนูจะเกิดมาในครอบครัวที่สบาย อบอุ่น แต่หนูก็ได้ทำในสิ่งที่หนูจะต้องรู้สึกผิดไปตลอดชีวิต รวมถึงเมื่อหนูได้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว หนูก็คงต้องชดใช้กรรมต่อในภพภูมิอื่น

ตลอดหลายปีที่ปีที่ผ่านมา หนูอธิษฐานแผ่ส่วนบุญ ขออโหสิกรรมให้กับดวงวิญญาณที่เป็นลูกของหนูทั้งสองดวง ในทุกครั้งที่เข้าวัดทำบุญขณะเดียวกัน หนูก็จะทำบุญทำทานให้เด็กๆ ในทุกวันเกิด แต่กระนั้นหนูก็ทราบดีว่าอาจจะยังไม่เพียงพอ หนูเคยลงไปเข้าคอร์สนั่งสมาธิสามวันสองคืน ยอมรับค่ะว่าหนูไม่ถนัด หรือจะเรียกว่าไม่ชอบเลยก็ได้ หนูเลยพยายามทำบุญด้วยวิธีอื่นๆ ให้ได้มากที่สุดค่ะ

หนูอ่าน บทความเรื่อง “พุทธศาสนากับการุณยฆาต” ของท่าน ว. ใน secret หน้าปกคุณวอลเตอร์ ลี เลยทำให้หนูอยากเรียนขอคำแนะนำที่จะทำให้หนูได้ชดใช้กรรมที่หนูทำ หนูทราบค่ะว่าเป็นบาปมหันต์ แต่หนูขอแค่ให้ได้ชดใช้กรรม ผ่อนหนักเป็นเบา และดีขึ้นจากโรคภัยที่หนูเป็น

อีกหนึ่งเรื่องที่หนูเป็นกังวล คือหนูกำลังจะแต่งงานปลายปีนี้ หนูกลัวมากค่ะว่า ถ้าหนูท้อง ลูกของหนูจะไม่ปกติ เพราะกรรมของหนู หนูไม่อยากให้กรรมที่หนูทำต้องไปตกกับลูกของหนูและครอบครัวค่ะ หนูกราบขอคำแนะนำด้วยค่ะ
ความจริงความเป็นไปในชีวิตของคนเราขึ้นอยู่กับกฎธรรมชาติ (ธรรมนิยาย) หลายกฎ แต่กฎที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราโดยตรงมีอยู่สองกฎ นั่นก็คือ จิตนิยาม (กฎการทำงานของจิต) และกรรมนิยาม (กฎแห่งกรรม) แต่ด้วยความที่ไม่รู้จักกฎธรรมชาติข้ออื่นๆ ว่ามีส่วนกำหนดวิถีชีวิตของเราด้วยเหมือนกัน เวลาเกิดมีปัญหาอะไรในชีวิตขึ้นมาเราจึงมักสรุปเอาอย่างง่ายๆ ว่าเป็นเพราะ “กฎแห่งกรรม” เพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนเราอาจเป็นผลมากจากกฎธรรมชาติข้ออื่นๆ ด้วยก็ได้

ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่จะวินิจฉันกันว่าเรื่องของคุณเป็นผลของกฎแห่งกรรมหรือเปล่า เราก็ควรจะมารู้จักกฎธรรมชาติข้ออื่นๆ ด้วย

กฎธรรมชาติที่มีผลต่อวิถีชีวิตของคนเรามีอยู่ด้วยกัน ๕ กฎ เรียกว่า “นิยาม” ประกอบด้วย

(๑) อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติว่าด้วยสภาพแวดล้อมและสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งมักส่งอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนเราในแง่ใดแง่หนึ่งเช่น คนอีสานมักมีนิสัยสู้ชีวิตมากกว่าคนภาคเหนือ เพราะอีสานมีความกันดาร ในขณะที่ภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรมากกว่า หรือคนภาคใต้มีความคิดทางการเมืองมากกว่าคนทุกภาค เพราะสภาพแวดล้อมที่ถูกกดขี่หรือถูกระทำมีมากกว่าคนภาคอื่น หรือชาวยุโรปมีนิสัยรักการอ่านมากกว่าคนเอเชีย เพราะยุโรปมีอากาศหนาวที่ยาวนานเขาจึงขลุกอยู่ในบ้าน และนั่นเปิดโอกาสให้ได้อ่านมาก เพราะมีเวลาอยู่ในที่ร่มมากกว่าคนทางเอเชีย ตัวอย่างเหล่านี้คือผลของสิ่งแวดล้อม ที่มีส่วนเข้ามากำหนดวิถีชีวิตของเราแต่ละคน

(๒) พีชนิยาม คือ กฎธรรมชาติว่าด้วยการสืบต่อพันธุกรรม คือโครงสร้างทางกายภาพที่เราได้รับมาจากพ่อแม่ เช่น ร่างกาย ผิวพรรณ หน้าตา เพศสภาพ (ชายหรือหญิง) ระบบการทำงานของอวัยวะ รวมทั้งโรคบางโรคที่ติดต่อได้ทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถส่งผ่านจากพ่อหรือแม่สู่ลูกเป็นต้น

(๓) จิตนิยาม คือ กฎธรรมชาติว่าด้วยการทำงานของจิต เช่น กระบวนการคิด การจำ การรับรู้ การตอบสนองต่อโลกและปรากฏการณ์ การเก็บกดปมปัญหา การตื่นรู้ เป็นต้น

(๔) กรรมนิยาม คือ กฎธรรมชาติว่าด้วยการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาและผลของการกระทำนั้นๆ ซึ่งเป็นไปในลักษณะหว่านพืชเช่นใดได้ผลเช่นนั้น

(๕) ธรรมนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งในโลก (Cosmic Law) ในลักษณะสรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน เกี่ยวเนื่องกันในลักษณะห่วงโซ่แห่งความสัมพันธ์ ทำให้เราได้ตระหนักรู้ว่า ไม่มีสิ่งใดในโลกดำรงอยู่อย่างเอกเทศโดยไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยมกับสิ่งใดเลย

กฎธรรมชาติทั้ง ๕ นี้ หนูควรรู้เอาไว้เป็นความเข้าใจพื้นฐานว่าชีวิตของเราใช่จะเป็นไปตามกฏแห่งกรรมเท่านั้น ยังมีกฎอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เมื่อรู้ความจริงอย่างนี้แล้ว ในทางปฏิบัติ หนูก็จะสามารถดูแลตัวเองอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น บางทีผลของโรคอาจเกิดจากกฏพีชนิยามซึ่งเป็นเรื่องความผิดปกติของร่างกายหรือพันธุกรรมก็เป็นได้ ถ้ามองในแง่นี้ หนูก็จะไม่ทิ้งการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นผลของกรรมด้วยก็เป็นได้ ซึ่งหากมองแง่นี้หนูก็จะได้กลัวบาปกลัวกรรม ไม่เผลอทำผิดซ้ำซาก

แต่ถ้าหนูฟังธงลงไปว่า โรคที่เกิดกับฉันเป็นผลของกรรมแน่ๆ หนูก็จะ (เข้าใจผิดๆ เพียงแง่เดียว) แล้วมุ่งไปที่การแก้กรรม และติดจมอยู่กับ “อดีตกรรม” ไม่รู้จบสิ้น จะแก้ก็ไม่ได้เพราะมันเป็นความผิดในอดีต จึงต้องทนอยู่กับ “ความรู้สึกผิด” วันแล้ววันเล่า นี่แหละที่กล่าวกันว่า “ปล่อยให้อดีตมากรีดปัจจุบัน” แต่ครั้นไม่เชื่อกรรมเลย หนูก็จะมุ่งรักษาแบบสมัยใหม่อย่างเดียว แต่ยิ่งรักษากลับพบว่าไม่ดีขึ้น ชีวิตก็มองไม่เห็นทางออกอีกเช่นกัน
ทางสายกลางในเรื่องนี้ก็คือ ความป่วยของหนูมีสิทธิ์เป็นไปได้ที่ว่า อาจจะเป็นผลของทั้ง “กรรม” และ “กาย” มาบรรจบกัน ดังนั้นในทางกายก็ควรให้หมอดูแลรักษาไปตามกรรมวิธีของแพทย์ ส่วนใจ (ที่หมกมุ่นกับความรู้สึกผิด) หนูก็ต้องรักษาด้วยการหาธรรมะมาเยียวยาด้วยตัวเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรบอกตัวเองว่า ในฐานะที่เป็นปุถุชน ทุกคนมีสิทธิ์พลาดกันได้ แต่เราต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ปล่อยให้เกิดซ้ำอีก และควรฝึกการเจริญสติให้มาก เพื่อเรียนรู้ที่จะอยู่เหนือกรรม ด้วยการไม่หลุดเข้าไปในความคิดฟุ้งซ่าน เพราะในความคิดฟุ้งซ่าน กรรมเก่าจะมีบทบาทมาก

ด้วยเหตุนี้จึงควรระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันไว้เสมอ เมื่อหยุดความคิดฟุ้งซ่านได้ หนูจะพบความสุขในปัจจุบันขณะ และไม่ท้อแท้กับการสู้ชีวิตใหม่ในวันต่อๆ ไป อนึ่ง หากยังรู้สึกผิดอยู่บ่อยๆ ก็ควรแก้ไขด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลและให้ชีวิตเป็นทานแก่สรรพสัตว์ ก็จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้พอสมควร

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ว.วชิรเมธี เตือนวัยรุ่นรักด้วยสมอง มีให้เลือก 4 แบบ กลัวตาย-ใคร่-เมตตา


พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตยาลัย เตือนเด็กและเยาวชนในวันวาเลนไทน์ว่า ความรักเป็นได้ทั้งความสุขและความทุกข์ เป็นทั้งความหวังและสิ้นหวัง เป็นทั้งอนาคตและมืดมิด ถ้ารักด้วยสมองความรักจะนำสิ่งดี ๆ มาให้  ถ้ารักจนขึ้นสมอง ความรักจะนำสิ่งเลวร้ายมาให้แก่เรา
ดังนั้น ความรักจะเป็นสิ่งที่ล้ำเลิศหรือความทุกข์ตรมขึ้นอยู่กับว่ารักด้วยสมอง หรือรักแบบขึ้นสมอง  และต้องไม่ยึดติดว่าความรักมีเพียงมิติเดียว คือความรักเชิงชู้สาวเท่านั้น แต่ความรักมีหลายมิติ เปรียบเสมือนบันไดต้องเดินขึ้นไปทีละขั้น จนถึงความหมายของความรัก นั่นคือความสุข ถ้ารักแล้วมีความทุกข์พัฒนาการของความรักยังไม่สมบูรณ์
สำหรับความรักมี 4 แบบ คือ 1. รักตัวกลัวตาย รักชนิดนี้ถ้ามีมาก ๆ จะทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว 2. รักใคร่ปรารถนา อิงกับสัญชาติญาณการสืบพันธุ์ ความรักชนิดนี้จะทำให้เกิดความลุ่มหลง กามารมณ์ หนุ่มสาวจะยึดความรักชนิดนี้เป็นที่พึ่งของชีวิต  ยึดติดความใคร่มาใช้ในนามของความรัก จนกลายเป็นความโลภ คือ อยากจะครอบครองใครสักคนให้อยู่ในความควบคุมของเรา  พอควบคุมไม่ได้ความรักก็กลายเป็นความร้ายเป็นโศกนาฏกรรม  เช่น  ทำร้ายคนรัก เผยแพร่คลิปคนรัก สาดน้ำกรดคนรัก เป็นต้น  3.รักเมตตาอารี ให้เห็นคนทั้งโลกว่าเป็นมิตรแก่เรา และ 4.รักมีแต่ให้ คือเป็นผู้ให้ รักปัญญาชนไม่คิดจะทำร้ายใคร ไม่หวังผล และพัฒนาจนปลายทางของความรักแท้
ทั้งนี้  เนื่องในวันวาเลนไทน์ ขอให้เยาวชนคนไทยทั้งหลายยึดความรักที่ถูกที่ควร  เป็นแนวทางปฏิบัติ ไม่ใช่ไปจมติดกับความรัก

เพียงเปล่งเสียงตามบทสวดมนต์ ก็เปลี่ยนใจเราแล้ว



โดย…..สุวีโรภิกขุ

อาจารย์ที่น่าเคารพของข้าพเจ้าท่านหนึ่งกำลังสนใจเรื่องการปฏิบัติภาวนา
แต่ด้วยอายุวัยและสังขารร่างกายที่ไม่ใคร่จะเอื้ออำนวยนัก
ไอ้ครั้นจะมาเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ เธอว่า (เคยลองฝึกดูแล้ว)ไม่ไหวแน่ๆ
เธอจึงหันมาอ่านหนังสือกับฟังซีดีธรรมะ เพื่อทำความเข้าใจด้วยตัวเองแทน
ซึ่งมันก็น่าจะเป็นไปได้จริงมากกว่า ใช่ไหม?
แต่หลังจากได้อ่านอยู่หลายปีได้ฟังมาปีหนึ่ง
กลับมองไม่เห็นความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงอันใด
ที่น่าพึงพอใจในตัวเอง เอาเสียเลย


อีกทั้งในช่วงเวลานี้หลังเกษียณยังต้องรับหน้าที่ดูแลมารดาวัยชรา
ซึ่งป่วยไข้ด้วยโรคอันเกิดจากความเสื่อมของสมอง
ก่อนออกจากบ้านมาทำงาน(หลังเกษียณยังรักที่จะทำงานช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป)
จึงต้องตระเตรียมอาหารและสิ่งจำเป็นทิ้งเอาไว้ให้ผู้ดูแล
อาหารเหลวที่เป็นของย่อยง่ายเหมาะกับวัย
กลับมิใช่ว่าจะบริโภคเข้าไปได้ง่ายอย่างที่คิด
หลายครั้งหลายหนอาจารย์จำต้องบังคับให้คุณแม่ทานเข้าไป
บ่อยครั้งจึงมีปากเสียงกระทบกระทั่งกัน
จนถึงขั้นคุณแม่ไม่ยอมกินและยังแถมคำด่าทอให้พรตามมาหลายชุด
ซึ่งอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความโมโหและพกติดใจเอาไปด้วยทุกเวลา
ความรู้สึกไม่สบายใจจึงเกิดขึ้นเวียนวนไปมาพร้อมๆกับกิจกรรมภายในบ้าน


เธอถามตนเองว่า ทำไม?ทำดีแล้วยังทุกข์อีก
ยิ่งกระทำต่อมารดาด้วยแล้ว
ไฉน?เราจึงหาความสงบสุขภายในใจกับสิ่งดีๆที่ทำให้ไม่ได้เลย
เพื่อนๆและลูกศิษย์ต่างก็ช่วยพูดให้กำลังใจกัน
“ในเวลาอย่างนี้ เป็นโอกาสที่ดีแล้วล่ะที่จะได้ทำความดีตอบแทนกลับคืน”
นั่นสินะ แล้วถ้ามันดีจริงทำไม?ครูถึงได้เป็นทุกข์และกลุ้มใจอย่างนี้ล่ะ


เคยสังเกตุเห็นบ้างรึเปล่าว่า เพราะเหตุใด?
…คุณความดีที่คิดเอาไว้และได้ทำต่อใครบางคนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
จึงสามารถย้อนกลับมาสร้างความทุกข์บั่นทอนจิตใจตัวเอง
หรือว่าเคยบ้างไหม? ที่จะรู้สึกกังขาต่อความดีงามที่ตนเองกระทำให้กับผู้อื่น…ว่า
มันคงจะไม่ดีจริง หรือมันดีได้ไม่สมดีใช่ไหม? ถึงไม่สามารถเติมเต็มหัวใจเรา
หรือว่ามีความต้องการทำดีเพื่อประโยชน์อื่นๆไปตามเรื่องตามราวในแต่ละเหตุการณ์


คุณงามความดีมันก็ดีในแบบของมันอยู่หรอก
ทว่ามันอาจไม่ได้ดีสมใจเราจริงๆเท่านั้นเอง
ถ้าอย่างงั้น…จะทำดีไปทำไม? หากมันไม่เห็นผลอย่างที่คิด
อีกทั้งยังเข้าไม่ถึงจิตใจเรา แค่ทำดีแต่ไม่หวังผล อย่างงั้นหรือ?
เพียรทำความดีเพราะเห็นว่ามันดี
และทำได้ไม่เบียดเบียนใคร(รวมทั้งตนเอง) ก็เพียงพอแล้ว
จะหาเหตุอ้างความชอบธรรมอันใดไปทำไมกัน
เมื่อมิได้ทำเพื่อโอ้อวดหรือหวังผลอื่นใดแอบแฝง
ส่วนที่ต่อจากนั้นจะเป็นไรไป หากแม้นจะเป็นทำดีไม่ได้ดีดังใจ
ก็แค่รู้และยอมรับไปตามความเป็นจริง
ของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราที่เป็นอย่างงั้นเอง


มีเพื่อนบางคนแนะให้อาจารย์สวดมนต์ลองดู
เพราะผู้แนะนำก็ได้รับประโยชน์อันเกิดจากการสวดมนต์มิใช่น้อย
อันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น
แต่พออาจารย์เริ่มต้นสวดมนต์จริงๆ
ในใจกลับมีความคิดความเห็นมากมาย
ให้ไม่ยอมโอนอ่อนตามภาษาที่ตัวท่านเองไม่เข้าใจ
และด้วยความเป็นนักวิจัยของท่านเอง
จึงหาเหตุผลมาโต้แย้งในการสวดมนต์แต่ละครั้ง จนกระทั่งเลิกกิจกรรมนี้ไปในที่สุด


ในงานวิจัยร่วมกันของดร.แอนดรู ไวลด์กับดร.ริชาร์ด เกอร์เบอร์
ในหนังสือชื่อ Vibration Medicine กล่าวเอาไว้ว่า
พลังสั่นสะเทือนที่เราได้จากการท่องคาถาสวดมนต์นั้นเป็นยาวิเศษ
หากร่างกายได้รับพลังจากการสวดมนต์นี้จะช่วยเยียวยาอาการของโรคที่อวัยวะส่วนนั้น ๆ
เพราะว่าคลื่นเสียงที่เปล่งออกมาจากการสวดมนต์ที่กระทบโสตประสาทการรับฟัง
ด้วยความดังสม่ำเสมอและมีจังหวะความถี่ในระดับเดียวกัน
จะสามารถกระตุ้นกระบวนการทำงานภายในร่างกายและฟื้นฟูสุขภาพให้ดีขึ้น
เมื่อเซลล์ประสาทของระบบประสาทสมอง
สังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายๆชนิดบริเวณ ก้านสมอง
และหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ ซีโรโทนิน (serotonin)
ออกมาจากปมประสาท (synapse)เพิ่มขึ้น
ซีโรโทนินเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทชนิดอื่นๆ
เช่น เมลาโทนิน ซึ่งเปรียบคล้ายกับยาอายุวัฒนะ, โดปามีน
มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและอาการพาร์กินสัน
นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินยังมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้น
การหลั่งสารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น อะเซทิลโคลีน
ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจำ


ดังเช่นที่อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ได้เคยอธิบายว่า
“เวลาเราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้างความสั่นสะเทือน
ไม่เท่ากันตามฐานที่เกิดของเสียง หรือตามวิธีเปล่งเสียง
แม้ว่าเสียงจะออกมาจากปากเหมือนกัน แต่ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก
บางเสียงออกมาจากปุ่มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน
บางเสียงออกมาจากคอ ดังนั้นถ้าเราสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์
จะเกิดพลังของการสั่น(Vibration)” พลังของการสั่นนี้จะเข้าไปเยียวยาอาการป่วย
เสียงสวดมนต์จึงช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆให้ทำหน้าที่ปราบเชื้อโรคบางชนิด
บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน
บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย
ทำให้ต่อมต่างๆในร่างกายถูกกระตุ้นเมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อยๆเข้า
ก็คงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น


ดร.แอนดรู ไวลด์ ยังกล่าวอีกว่า การหายใจเข้า-ออกยาวใน ๑นาทีไม่เกิน ๖ครั้ง
ยังช่วยแก้ปัญหาอาการปวดหัวไมเกรน ความเครียด และโรคนอนหลับ เป็นต้น
เช่นนี้แล้วจะมีกิจกรรมใดที่ดีต่อร่างกายและทำได้ง่ายเท่ากับการสวดมนต์อีกเล่า
เราจะสามารถหายใจยาวๆได้ในทันทีที่เปล่งเสียงออกมา



หลังจากได้รับกำลังใจจากลูกศิษย์ลูกหาอย่างต่อเนื่อง
เห็นจะไม่มีทางอื่นกระมัง ที่จะช่วยลดความไม่สบายใจ
ได้ดีเท่ากับการสวดมนต์อีกแล้วในเวลานี้
อาจารย์ของข้าพเจ้าจึงกลับมาสวดมนต์อีกครั้ง ทั้งๆที่รู้ความหมายของบทสวด
แม้จะยังไม่ได้รู้สึกซาบซึ้งกับเนื้อหาของบทสวดก็ตามที
แถมเปิดอ่านท่องติดๆขัดไปอย่างนั้น หากท่านก็ยังทำอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ
ซึ่งในที่สุดก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา
อาจารย์มีความสุข คุณแม่อาจารย์ก็มีความสุข พูดบ่นน้อยลง
ยอมทานอาหารเหลวและมาร่วมสวดมนต์กับท่าน


“ภาษาพระฉันไม่คุ้นเอาซะเลย” นั่นมันก็ดีนะ จะได้ไม่มีอะไรให้ต้องไปคิดต่อ
แค่ปากว่าตามไปด้วยใจที่ยอมทำและทำเต็มที่ เท่านี้ก็ดีแล้ว
เป็นความดีที่ไม่เบียดเบียนใจ เพราะมันหยุดคิดและเลิกรากับความวิตกกังวลไปเลย
พอเริ่มออกเสียงเปล่งคำอักขระต่างๆอย่างต่อเนื่อง
ความคิดทั้งหลายก็ไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว
อาจารย์บอกว่า “ถึงครูจะสวดมนต์ ก็สวดไม่คล่อง แถมยังสวดผิดๆถูกๆ
แต่ไม่รู้ทำไม อะไรๆต่างๆมันถึงได้ดีขึ้นมา” นั่นสินะ มันดีก็ดีแล้วเนอะ
เป็นความดีที่รู้จักยอมเปลี่ยนใจตัวเองให้กลับมาสวดมนต์อีกครั้ง ไงล่ะอาจารย์

15 ข้อคิดดีๆ รักษาจิตใจ

1. คนเรามีความรู้สึกรัก ชอบ โกรธ เศร้า ไม่ต่างกัน
ขึ้นอยู่กับว่าเวลาไหนมันจะแสดงออกมามากน้อยเพียงใดเท่านั้น "
คนที่จะหัวเราะได้เสียงดัง ข้างในคงต้องขำบ้างพอสมควร คนที่น้ำตาจะไหลได้
ข้างในคงมีเรื่องปวดร้าว....ถ้าไม่นับการร้องไห้ที่มาจากความปิติ "


2.โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง
...แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน


3. คนที่ตลกหัวเราะสดใส ก็คือคนเดียวกับคนที่สามารถร้องไห้ฟูมฟายได้
เพียงแต่คุณจะได้เห็นหรือเปล่าเท่านั้น อาจจะเคยได้ยินว่า "
คนที่หัวเราะได้ดังที่สุด ก็คือคนที่สามารถร้องไห้ได้ดังที่สุดเช่นกัน"


4. เด็กๆ จะมองว่าผู้ใหญ่ซีเรียส ในขณะที่ผู้ใหญ่จะบอกว่า เด็กไร้สาระ
เพราะเด็กไม่เคยเป็นผู้ใหญ่มาก่อน วันหนึ่งเค้าคงจะรู้ว่า
ทำไมถึงต้องมีเรื่องซีเรียส
สำหรับผู้ใหญ่ซึ่งได้ผ่านวัยเด็กมาแล้วอาจจะลืมไปว่า ณ วันที่ผ่านมา "สาระ" ในชีวิตของเรา คืออะไร


5. ครอบครัวไทยมักจะเลี้ยงลูกผู้หญิงให้เป็นฝ่ายถูกเลือก
คอยสั่งสอนให้ทำตัวเรียบร้อย ไม่อย่างนั้นจะไม่มีใครเลือกไปเป็นคู่ครอง....
แต่ความจริงแล้วผู้ชายและผู้หญิง เราต่างเลือกซึ่งกันและกันมากกว่า


6. เพื่อนที่ดีที่สุด คือคนที่คุณสามารถนั่งอยู่ริมระเบียงด้วยกันโดยไม่พูดอะไรกันซักคำ
แต่สามารถเดินจากไป ด้วยความรู้สึกเหมือนได้คุยกันอย่างประทับใจที่สุด


7.ใครหลายคนไม่กล้าเข้าไปปลอบโยนให้คำปรึกษากับเพื่อน
เพราะคิดว่าเราไม่รู้จะบอกเค้ายังไง
เพราะเราเป็นแค่เพื่อน....แต่ความจริงแล้วคุณเป็นตั้งเพื่อนต่างหาก


8. ผู้ชายที่ร้องไห้ และยอมรับว่าตัวเองร้องไห้เขาคือสุภาพบุรุษที่สุด
อย่างน้อยการซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเอง... คือความกล้าหาญสุดยอด


9. ก่อนที่วันนี้ คุณจะทำความรู้จักกับผู้คนใหม่ๆ
อย่าลืมสำรวจตัวเองก่อนว่า
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา... ทำใครหล่นหายไปจากชีวิตหรือเปล่า


10. เงินไม่ใช่พระเจ้า แต่ทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้น


11. มีสติ สตางค์อยู่ ก็ปลีกเวลาไปใช้เสียบ้าง
อีกหน่อยไม่มีสติแต่มีสตางค์...ก็สายไปเสียแล้ว


12. เวลาที่เรารักใคร เราจะรู้สึกตัวเล็กเหลือเกิน...เวลาใครรักเรา
เราจะรู้สึกตัวใหญ่เหลือเกิน...แต่ถ้าเราเจอคนที่เรารักเขาและเขาก็รักเรา
เราจะผลัดกันตัวเล็กตัวใหญ่


13. วันที่คุณเข้มแข็งและแข็งแรงพอ
อย่าลืมเป็นผู้ฟังที่ดีให้กับคนที่มีปัญหาด้วย "เอาไหล่ให้เขาพิง
เอามือให้เขาจับ".....100 คำพูดดี ดี ไม่เท่ากับ 1 สัมผัสที่มีค่าหรอกนะ


14. คุณรู้ไหมว่า อายุคนเราเฉลี่ย 76 ปีนั่นคือแค่ 3,952
อาทิตย์เท่านั้นคุณหมดเวลาไปกับการนอนถึง 1317 อาทิตย์
ซึ่งเท่ากับว่าคุณเหลือเวลาที่ใช้ดำเนินชีวิตแค่ 2,635 อาทิตย์เท่านั้นเอง


15. ลองฉลองวันเกิดกับครอบครัวสักปี แล้วคุณจะได้รู้ว่า
เมื่อตอนที่คุณร้องไห้จ้าในวันเกิดวันแรก
คนในครอบครัวคุณมีความสุขกันขนาดไหน.......


อ่านครบ 15 ข้อแล้วลองทำดูนะ ให้ชีวิตอยู่อย่างรื่นๆ ชื่นฤทัย
สบายใจกันดีที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

กำลังใจให้ชาวญี่ปุ่น

สัจธรรมของคนนอกกรอบ


สมเด็จโต หรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กับ ท่านอิคคิว ปรมาจารย์เซนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น มีประวัติที่คล้ายกันอยู่บางเรื่อง เช่น อารมณ์ขัน และการแสดงปริศนาธรรมอันเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวชนิดที่เลียนแบบได้ยาก 

ใครจะไปนึกว่า อารมณ์ขันนั้นก็เป็น ธรรม อย่างหนึ่งซึ่งแสดงถึงความไม่ยึดติด มองเรื่องของโลกย์อย่างไร้สาระ แต่ก็ไม่เครียด แม้จะมีร่องรอยแห่งความเย้ยหยัน เสียดสี กระทบกระเทียบเปรียบเปรยอยู่ตลอดเวลา แต่ก็เป็นไปด้วยความเมตตา และเข้าใจในมนุษย์ 
ปรมาจารย์ทั้งสองท่านแสดงออกอยู่ตลอดเวลาว่า ท่านปฏิเสธที่จะนำตัวเองเข้าไปอยู่ใต้ร่มเงาแห่งยศถาบรรดาศักดิ์ เรื่องของการแสดงอำนาจทางการเมืองการปกครองของมนุษย์ ท่านก็หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปข้องเกี่ยวด้วย 
เรื่องที่ท่านเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ไม่ใช่ว่าท่านไม่เอาด้วยอย่างเดียว แต่ยังแสดงการคัดค้านต่อต้านในแบบของท่าน 

ท่านไม่หลีกหนี แต่ก็ไม่ถึงกับจับกลุ่มเป็นม็อบเดินขบวนเรียกร้องอะไรอย่างที่พระยุคดิจิตอลท่านทำอยู่ในปัจจุบัน 

ช่วงที่รัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ครองราชย์อยู่นั้น สมเด็จโตท่านได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตไม่รับราชการเทศน์ สวด ฉัน ในพระบรมมหาราชวัง ทำให้ท่านมีอิสระมากขึ้น ไม่วุ่นวายด้วยยศถาและบริวาร แบกตาลปัตรเอง พายเรือเอง สุดท้ายก็หนีเข้าไปธุดงค์ในป่า ข้ามไปลาวและเขมร รวมแล้วกว่า 20 ปี 

ล่วงมาถึงรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขึ้นครองราชย์ก็ประกาศตามตัวมหาโต หนักเข้าถึงกับต้องประกาศจับ ใครเห็นพระที่มีรูปร่างผอมๆ หน้าตาคล้ายมหาโตเป็นต้องถูกจับเข้าเมืองหลวงหมด เมื่อสมเด็จโตทราบก็อุทานออกมาว่า กูหนีมาตั้ง 25 ปี ทำไมเพิ่งมาประกาศจับ 

ตอนนั้นท่านไม่รู้ว่าบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนรัชกาล ในที่สุด ท่านก็เลยไปมอบตัวกับตำรวจที่ขอนแก่นเพื่อให้พาเข้าเมืองหลวง 

สมเด็จพระจอมเกล้าฯท่านทรงโปรดสมเด็จโตมาก จึงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม สมเด็จฯท่านก็เดินแบกตาลปัตร เครื่องอัฐบริขาร กาน้ำ และกล้วย พะรุงพะรังไปหมด ใครไปช่วยก็ไม่ยอม เอาแต่เดินรอบวัดระฆัง แล้วก็พูดออกมาดังๆ ว่า ฉันมาเฝ้าวัดระฆังตามพระบรมราชโองการจ้ะ ใครได้เห็นสมเด็จฯตอนนั้นแล้วก็พากันหัวเราะขบขัน เพราะท่านได้แสดงให้เห็นว่า เรื่องยศถา สมณศักดิ์นั้น เป็นเรื่องสมมุติที่น่าขบขันทั้งนั้นไม่ใช่แก่นของพระธรรมสักหน่อย 

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจอมเกล้าฯท่านทรงกริ้วเรื่องพระที่มาสวดพระอภิธรรมพระบวรศพของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ 8 รูป แต่ปฏิบัติยังไม่ถูกต้องระเบียบประเพณี พระท่านก็ตกใจวิ่งหนีไปแอบที่หลังม่านกั้นพระโกศ เพราะเกรงพระบรมเดชานุภาพ จึงมีรับสั่งให้สึกให้หมดทั้ง 8 รูป แล้วทรงพระอักษรถึงสมเด็จโต ให้นำพระราชหัตถเลขาไปถวายที่วัดระฆังฯ 

สมเด็จโตอ่านพระราชหัตถเลขาแล้วก็จุดธูป 3 ดอก จี้ลงไปที่กระดาษข้างลายพระหัตถ์เป็นรอยไหม้ทั้ง 3 รู เมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าฯทอดพระเนตรเห็นแล้วก็ทรงทราบปริศนาธรรมของสมเด็จโตว่า ท่านขอให้พระองค์ดับราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นไฟ 3 กอง สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงพระราชทานอภัยโทษ ให้ไม่ต้องสึกพระทั้ง 8 รูป 

นั่นเป็นปริศนาธรรมที่ลึกซึ้งยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจ 

เช่นเดียวกับท่านอิคคิว ปรมาจารย์เซน การแสดงธรรมของท่านถือได้ว่า สุดขั้ว นอกกรอบนอกรีตไม่เหมือนใคร แต่เป็นการแสดงธรรมตามแนวของเซนที่เป็นแบบฉบับของท่านโดยเฉพาะ 

เมื่อท่านนินาคาว่า พระภิกษุเซนที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งใกล้จะสิ้นใจ ท่านอิคคิวได้มาเยี่ยม แล้วถามผู้ป่วยว่า จะให้ข้านำทางท่านไหม? 

ท่านนินาคาว่าตอบว่า ข้ามาที่นี่เพียงลำพัง และก็จะไปเพียงลำพัง ท่านจะช่วยอะไรข้าได้ 

ท่านอิคคิวจึงตอบกลับไปว่า ถ้าท่านคิดว่าตนเองมาและจะไปจริงๆ แล้ว ก็เข้าใจผิด ให้ข้าชี้ทางที่ไม่มีการมาและไปแก่ท่านเถิด 

ท่านนินาคาว่ายิ้มก่อนจะลาลับไปอย่างเข้าใจ เสมือนบรรลุธรรม เข้าถึง ซาโตริ อีกครั้ง 

ท่านอิคคิวเป็นผู้ที่ไม่ถือสาเรื่องความสูงส่งหรือต่ำต้อยใดๆ ในสังคมระหว่างคนด้วยกันไม่ว่าจะเป็นขุนนาง ซามูไร พ่อค้า เด็กๆ ที่ชอบติดตามท่านไปตามที่ต่างๆ แม้แต่นกก็ยังมาจิกกินอาหารถึงในมือ และไม่ว่าจะได้อะไรมาท่านก็แจกจ่ายให้กับผู้คนที่มีความจำเป็นไปทั้งหมด 

ตอนใกล้จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิตท่านอิคคิวสั่งเสียศิษย์ว่า หลังจากข้าตายแล้ว พวกเจ้าบางคนอาจจะปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรตามป่าเขา บางคนอาจดื่มสาเก ไปกับผู้หญิง สำหรับเซนแล้ว ไม่เป็นไร แต่ถ้าพวกเจ้าไปเป็นนักเทศน์ที่เอาแต่พูดพร่ำว่า เซนคือหนทาง ก็ย่อมเป็นศัตรูกับข้า 

รูปวงกลมอันเป็นสัญลักษณ์ที่พระเซนมักจะเขียนเพื่อแสดงธรรมนี้ก็เช่นเดียวกัน มันครอบคลุมสภาวะต่างๆ ทั้งโลกและจักรวาล และสภาวะจิตอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอิสระอย่างยิ่ง 

ธรรม กับ การบริหารเวลา(Time Management)



ชีวิตคนเราเมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว มันสั้นนัก มีเกิดและดับเป็นธรรมดาโลก
แต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นี่ซิ
มนุษย์ผู้มีปัญญาจึงควรที่จะดำรงชีวิตอย่างชาญฉลาด
พระพุทธเจ้าเคยอบรมสั่งสอนมนุษย์ไว้ว่าทรัพย์สินที่พึงได้จากกา รประกอบกิจการงานต่างๆ
นั้น ควรแบ่งออกเป็น 4 กองเท่าๆกัน
- กองแรก เก็บสะสมไว้ใช้ยามขัดสน
- กองสอง ใช้จ่ายเพื่อทดแทนผู้มีพระคุณ
- กองสาม ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว
- กองสี่ ใช้เพื่อสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่สังคม

แล้วการทำงานของมนุษย์ล่ะหลายคนยังมัววุ่นแก่การทำงานโดยไม่ยอม แบ่งเวลา
เหลียวหลังมองถึงบุคคลที่รักและห่วงใยตนเองเลยหรือ?
มนุษย์บางคนทุ่มเวลาทั้งหมดให้แก่หน้าที่การงานอย่างเอาเป็นเอา ตาย
พร้อมกับคิดว่าการกระทำดังนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว
แต่นั่นคือการกระทำที่โง่เขลาเป็นที่สุด ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่าๆกัน
แต่ผู้ใดที่ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะงานของตนเอง
โดยไม่ยอมแบ่งปันเวลาให้แก่ผู้ใดแม้กระทั่งตัวเอง 
เป็นมนุษย์ที่เขลาเบาปัญญาที่สุด
หากบริหารไม่ได้แม้กระทั่งเวลา 24 ชั่วโมงของตัวเองในแต่ละวันแล้ว
มนุษย์ผู้นั้นจะบริหารอะไรได้ 
ทำไมมนุษย์ผู้ชาญฉลาดจึงไม่แบ่งปันเวลาให้เสมือนหนึ่ง
การแบ่งปันกองเงินตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบ้างเล่า... 
ไม่ต้องแบ่งเวลาให้เป็นสี่กองเท่าๆ กันหรอก 
เพียงแต่แบ่งปันเวลาในแต่ละส่วนให้เหมาะสมเท่านั้น

8 ชั่วโมงสำหรับการทำงาน เพื่อความก้าวหน้ามั่นคงในชีวิต
8 ชั่วโมงสำหรับการพักผ่อนเก็บเรี่ยวแรงไว้ต่อสู้กับหน้าที่การงา นและอุปสรรคในวันพรุ่ง
5 ชั่วโมงสำหรับการเดินทาง เพื่อประกอบกิจการต่างๆ
2 ชั่วโมงสำหรับโลกส่วนตัวของตนเอง
59 นาที สำหรับดูแลและรักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัยและช่วยเหลือสังคม และ
1 นาทีของคุณ ที่มอบให้กับคนที่รักและห่วงใยคุณโดยไม่นำเวลาอื่นเข้ามาเกี่ยว ข้อง
เพราะเพียง 1 นาทีนี้มันมีค่ามากเกินกว่าคณานับได้ในความรู้สึกของเขาคนนั้น
จงอย่ากล่าวว่า "ไม่มีเวลา..."
เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ยุติธรรมที่สุดในโลกนี้ที่มีให้แก่มนุษย์
มนุษย์ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่าๆ กัน
ไม่มีใครมีเวลามากและไม่มีใครมีเวลาน้อยไปกว่านี้

24 ชั่วโมงใน 1 วันที่มหาเศรษฐีหรือยาจกมีเท่าเทียมกัน
ไม่ขาดเกินแม้แต่เศษเสี้ยวของวินาทีด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผู้ใดที่กล่าวว่า
"ไม่มีเวลา" จึงเป็นผู้ล้มเหลวในการบริหารเวลา 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของตนเองอย่างสิ้นเชิงและใช้คำว่า
"ไม่มีเวลา"เป็นข้อแก้ตัวเพื่อปกปิดความล้มเหลวเรื่องเวลาของตน เองอย่างขลาดเขลา
มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิตจึงไม่ใช่ผู้ที่เก่งแต่ การทำงานอย่างเดียว
แต่มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิตต้องเป็นผู้ที่รู้จั กแบ่งสัดส่วนเวลาวันละ
24 ชั่วโมงของตนเองได้อย่างลงตัว วันละ 24 ชั่วโมงของตนเอง
ที่มีไว้สำหรับการทำงาน การพักผ่อน การเดินทาง มิตรภาพ ความรัก ความอบอุ่น
ความห่วงใย ความเอื้ออาทร ฯลฯ
โดยไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เข้ามาเกี่ยวข้องใน ชีวิต
นี่แหละคือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดที่รู้จัก "ใช้เวลา"
แล้ววันนี้คุณจะยังอ้างเหตุผลว่า "ไม่มีเวลา" อีกหรือ?

ลองถามตนเองซิว่า..ความสุขคืออะไร?



อาตมาเคยเห็นการ์ตูนรูปหนึ่ง เป็นภาพทหารเบาปัญญาอยู่ท่ามกลางสนามทุ่นระเบิด เขาถือเครื่องตรวจสอบทุ่นระเบิด แต่กลับค่อยๆ เดินถอยหลัง คนจำนวนไม่น้อยก็พยายามดับเหตุให้เกิดทุกข์ทำนองนั้นเหมือนกัน เครื่องอุปกรณ์ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้ามีพร้อมแต่ใช้ไม่ถูก
    พันกว่าปีก่อนที่คำว่า "มีดโกนอาบน้ำผึ้ง" จะถูกใช้เรียกฝีปากนักการเมือง โบราณาจารย์ท่านเคยใช้คำว่า "น้ำผึ้งอาบมีดโกน" โดยหมายถึง ความสุขทางเนื้อหนัง ใครหลงใหลความสุขประเภทนี้ ท่านเปรียบเทียบเป็นผู้กำลังเลียน้ำผึ้งที่อาบมีดโกนอยู่ สมัยนี้คนลิ้นถูกบาดมีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง แต่คนเข็ดหลาบหายาก อะเมซิ่งเหมือนกัน
ทุกวันนี้เราชอบส่ายหัว บ่นกันถึงเรื่องสังคมปัจจุบันว่า..ยุคนี้เป็นยุคที่คนเห็นแก่ตัวเหลือเกิน เอาแต่ใจตนเอง หรือหาแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวถ่ายเดียว คนแก่มักจะเติมว่าไม่เหมือนสมัยก่อน สมัยก่อนคนไทยยังมีน้ำใจต่อกันดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เดี๋ยวนี้เอาแต่ตัวใครตัวมัน อาตมาไม่แก่เท่าไร ก็ยังชอบมองแบบนั้นบ้างเหมือนกัน แต่อาตมาได้สังเกตสิ่งที่น่าตลก (ร้าย) อย่างหนึ่งนั่นคือทั้งๆ ที่การช่วงชิงแก่งแย่งกันในสังคมเพิ่มทวีขึ้น เหมือนกับความสุขมีจำกัด ใครไม่รีบคว้าเอาจะเสียเปรียบ แต่ขณะเดียวกันนั้น คนส่วนใหญ่กลับทำในสิ่ง ที่ไม่นำไปสู่ความสุขที่ตนต้องการ และทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเองอยู่เรื่อย เขาจึงยิ่งทุกข์มากกว่าคนในยุคสบายๆ ที่คนไทยยังเป็นฝ่ายบุญนิยมกันอยู่ เป็นเพราะอะไร? ถ้าไม่ใช่การประชดตัวเอง ก็น่าจะต้องสรุปว่าพวกเราสุขไม่ค่อยเป็น
     
     ดูเหมือนกับว่าระบบการศึกษาของตะวันตก ซึ่งแพร่หลายถึงเมืองไทยมาหลายสิบปีแล้ว ได้สร้างคนรู้มากไว้มาก สร้างคนเข้าใจมากไว้น้อยในหมู่คนไทย ปัญญาในเรื่องคุณภาพชีวิต ความเข้าใจในสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ ธรรมชาติของความสุขและความทุกข์ น่ากลัวได้ลดน้อยลง คนสมัยนี้สมองใสก็จริงแต่ตาถั่ว
     
     มนุษย์เป็นสัตว์เจ้าปัญหาเพราะขาดเชาวน์ ด้อยปัญญาที่แท้จริง เกลียดทุกข์รักสุข ทะเยอทะยานดิ้นรนแทบตาย เพื่อสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าเป็นสุข แต่ไม่เคยใคร่ครวญว่าความสุขคืออะไรกันแน่ สิ่งที่เราต้องการเดี๋ยวนี้ หรือทุกวันนี้ จะให้ความสุขแก่เราจริงอย่างที่คิดหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จะมีผลกระทบต่อคนอื่น และต่ออนาคตของเราอย่างไรบ้าง ความทุกข์ที่เราเกลียด และกลัวที่สุดนั้นเกิดจากเหตุปัจจัยอะไรบ้าง ทุกวันนี้เราแก้ถูกวิธีหรือไม่ มนุษย์อยากสุขแต่ไม่รู้จักสุข อยากหนีทุกข์แต่ไม่รู้จักทุกข์ สุ่มสี่สุ่มห้าเดินคลำไปคลำมาในความมืด เอาความหวังในความสุขข้างหน้าเป็นที่ปลอบใจ บางคนอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเนรมิตให้ ความมืดกลายเป็นความสว่าง แต่พระพุทธศาสนาสอนว่า โยม มันสว่างอยู่แล้ว ไม่ต้องไปบนบานศาลกล่าวที่ไหนหรอก ลืมตาก็จะเห็นเอง
    
     สิ่งแรกที่ผู้ต้องการชีวิตที่ดีงามควรกระทำ คือฝึกให้หยุดจากการกระเสือกกระสนสักพักหนึ่ง ลืมหูลืมตาขึ้นพิจารณาความเป็นมนุษย์ของเรา ว่าเราเกิดมาทำไม อะไรคือสิ่งที่สูงสุดที่เราควรจะได้จากชีวิต เราควรจะให้อะไรไว้กับโลกนี้ คำถามเหล่านี้สำคัญ แต่อย่าเชื่อคำตอบใครง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่างมงายตามพวก(แนวคิดปรัชญา)วัตถุนิยมจะเสียคน จงหาคำตอบของตนเองด้วยสติ ปัญญา และความจริงใจ
      
    ความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องในเป้าหมายของชีวิต และวิธีการที่จะเข้าถึงเป้าหมายนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า สัมมาทิฐิ ผู้ที่มุ่งจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในสิ่งที่ดีงาม จะขาดสัมมาทิฐิไม่ได้ เพราะคนเราถ้าคิดผิดแล้ว การกระทำ และคำพูดทุกอย่างย่อมพลอยผิดไปด้วย จิตก็พาลพาไปหาผิดอยู่ร่ำไป
   
      ในเบื้องต้น หนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เสวยสุขที่แท้จริงนั้น เริ่มด้วยทิฐิระดับความเชื่อถือ ค่านิยม แนวความคิดซึ่ง หนึ่ง ไม่นำไปสู่การเบียดเบียนตนหรือผู้อื่น เช่น กินเพื่ออยู่ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน ถือการรักษาศีลห้าเป็นมาตรฐานชีวิต และสอง ลงรอยกับความจริงของธรรมชาติ เช่น เรามีกรรมเป็นของๆ ตน การละกิเลสนำสุขมาให้ การพ้นทุกข์ไม่พ้นสมัย สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ท่านจึงเน้นในการปรับทิฐิ ให้สอดคล้องกับความดีและความจริง
     
      ตรงนี้แหละที่น่าจะเป็นจุดอ่อนของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยทุกวันนี้ คือ เราได้เน้นเรื่องของการทำทานมากเกินไปหรือเปล่า? เน้นจนละเลยในการเสริมสร้างสัมมาทิฐิ คือแนวการมองความหมายของชีวิตและโลก ความเข้าใจในเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ ความหมายของคำว่า ดี ชั่ว บุญ บาป ความเข้าใจว่า อะไรคือพฤติกรรมที่นักปราชญ์สรรเสริญ อะไรคือพฤติกรรมที่ผู้รู้ตำหนิ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความเข้าใจในเรื่องความสุขและความทุกข์ ในสมัยนี้ดูเหมือนว่าความเข้าใจของคนทั่วไปในสิ่งเหล่านี้ ค่อนข้างพร่ามัว คนไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา ก็ย่อมไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร แล้วอย่างนี้จะเป็นความผิดของศาสนาหรือ ใครอยู่ใกล้เกลือแล้วอยากกินด่างก็เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ปัญหาต่างๆ มักจะเกิดขึ้นในสังคม เมื่อผู้กินด่างหลงเชื่อกันว่าด่างคือเกลือ จึงมักบ่นว่าทุกวันนี้เกลือไม่เค็มจริง
เรามีวัดนับหมื่น มีพระภิกษุสามเณรนับแสนก็จริง แต่ถ้าหากว่าเราไม่เอาใจใส่ในแนวความคิดของชาวพุทธ ไม่ชี้แจงและเผยแพร่คำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายชีวิต ไม่อธิบายว่าความคิดอย่างไรเข้าได้และเข้าไม่ได้กับหลักพุทธธรรม ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าพระบวรพุทธศาสนาของเรา จะกลายเป็นต้นโพธิ์ที่ยืนต้นตายในอนาคตอันไม่ไกล
      ทุกวันนี้ปรากฏว่ามีชาวพุทธมากมายที่ถือว่าความร่ำรวย การมีอำนาจ ชื่อเสียง ยศฐาบรรดาศักดิ์ ความพรั่งพร้อมด้วยวัตถุ คือยอดความสุขของฆราวาส ความคิดอย่างนี้ท่านเรียกว่า มิจฉาทิฐิ เพราะจะเป็นเหตุของการประพฤติที่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเอง ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อม มันไม่เป็นความจริง ความสุขดังกล่าวเป็นแค่ความสุขระดับล่าง ย่อมมีทุกข์ไม่มากก็น้อยเจือปนอยู่เสมอ สังคมใดที่เต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ นิยมการอวดฐานะ บ้ายี่ห้อ ให้เกียรติคนรวยโดยไม่สนใจว่ารวยมาอย่างไร สังคมที่ถือว่า การเป็นเจ้าคนนายคน คือการประสบความสำเร็จในชีวิตเรียบร้อยแล้ว (โดยไม่พิจารณาความประพฤติ) หรือที่ถือว่าผู้เป็นใหญ่เป็นโตแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎของสังคมเหมือนคนธรรมดา สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงอาการของสังคมที่วิปริตทางทิฐิคือ คิดผิดทั้งสิ้น

    คนเรามองอะไรว่า ว่าเป็นความสุขก็ต้องแสวงหาสิ่งนั้น ถ้าเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนหรือตัวเราเอง ให้สร้างสรรค์กว่าที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องความสุขให้ชัดขึ้น ใครไม่เห็นว่าตนเองมีความทุกข์อะไรที่จะต้องดับก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทุกคนหาความสุขที่ดีกว่าก็นับว่ายังใช้ได้

   ฉะนั้น ลองถามตนเองซิว่าความสุขคืออะไร? อะไรคือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในชีวิต? เวลาเราสวดมนต์ว่า "อะหัง สุขิโต โหมิ" ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขๆ เถิด หรือ "สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ" ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงถึงความสุขๆ เถิด ความสุขที่เราหวังที่เราอยากได้นั้นคืออะไร? ความสุขที่เราอยากให้สรรพสัตว์ทั้งหลายคืออะไร? มันน่าคิดนะ ถ้าคำตอบยังเป็นเรื่องกิน กาม เกียรติ นับว่าเรายังไม่เป็นมิตรแท้ของตนเอง และของเพื่อนร่วมโลกเพราะความคิดยังต่ำไป

      ทุกคนในโลกนี้ล้วนแต่ต้องการความสุขเพราะอะไร? เพราะทุกคนรู้สึกว่ายังได้ไม่พอ ที่เคยได้แล้วก็ดีอยู่แต่ยังไม่ดีที่สุด ความสุขที่เคยได้ พอผ่านไปแล้วก็เหลือแต่ความทรงจำที่หวานชื่น (กว่าของจริง) จึงอยากได้อีก ทางพระเขาบอกว่าจิตใจของผู้ที่ยังไม่เข้าถึงธรรม มีความพร่องอยู่เป็นนิจ หิวอยู่ตลอดเวลา สังคมเราไม่เห็นโทษของการฝากความหวังไว้กับความสุขประเภทนี้ ทั้งๆ ที่ครูบาอาจารย์ได้เตือนอยู่เสมอ แต่ไหนแต่ไรมา จึงกลายเป็นสังคมปากอ้า เต็มไปด้วยมนุษย์ที่วิ่งตามล่าหาความรู้สึกชั่วแวบอยู่อุตลุต นับถือพระพุทธศาสนาอยู่บางทีห้อยพระเต็มคอ แต่ในชีวิตจริงกลับนับเงินและถือสากันมากกว่า ยึดเอาอารมณ์ยินดียินร้ายในทรัพย์สินและอัตตาเป็นหลักชีวิต ต่อไปพวกนี้อาจจะต้องขอพึ่งพระรัตนตรัยใหม่ที่ไม่เป็นศรี คือ

    รักชัง สรณัง คัจฉามิ สตางค์ สรณัง คัจฉามิ โอหัง สรณัง คัจฉามิ (ทุติยัมปิ...ตติยัมปิ...)

       เมื่อเราไม่เข้าใจธรรมชาติของตนเอง ไม่เข้าใจธรรมชาติของโลก ตัณหาก็จะเป็นผู้สนตะพายโดยเราหลงหวังไปว่าโลกจะให้สิ่งที่ จริงๆ แล้วโลกให้เราไม่ได้ คือ ความสุขที่ไม่รู้โรย ความสุขที่ยืนยงคงกระพัน
แต่สัจธรรมความจริงที่ปุถุชนไม่อยากรับรู้ คือ สิ่งที่เราจะได้จากโลกมีแค่ความสุขแบบกระตุ้นประสาท หรือบำเรออัตตาเท่านั้น

      กายและใจของเราจะมีความสุขกับการกระตุ้นประสาทมากไม่ได้ มันจะเหนื่อย อีกทั้งถ้ากระตุ้นบ่อยประสาทก็เริ่มด้าน จึงต้องเพิ่มอัตราและความเข้มของการกระตุ้นอยู่เรื่อยๆ ความสุขทางเนื้อหนังจึงย่อมกระท่อนกระแท่นเป็นธรรมดา พ้นการขึ้นๆ ลงๆ ไม่ได้ น้อยคนเหลือเกินสนใจจะหยุดทบทวน หรือคิดพิจารณาว่าความสุขที่อยากได้คืออะไร ชีวิตของมนุษย์จึงหนีไม่พ้นความผิดหวัง ปัญหาในโลกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าปัญหาภายในจิตใจของคนเรา ปัญหากับคนรอบข้าง หรือปัญหาในสังคมทั่วไป เกิดจากการหวังความสุขที่ถาวรจากสิ่งที่ไม่ถาวร เมื่อไม่ได้สมหวังก็ระทมขมขื่น สมหวังแล้วก็ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ตนยึดติด ก็เศร้าโศกหรือกลัดกลุ้ม

     พระพุทธองค์ตรัสว่า ความสุขมีหลายอย่าง นอกจากความสุขสามัญแล้ว ทุกคนไม่ว่านักบวชหรือผู้ครองเรือน ควรหาความสุขที่เกิดจากคุณงามความดี และความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากการเป็นอิสระจากกิเลส จะได้มากน้อยแค่ไหนก็ไม่ต้องกังวล เพียงแค่ความพยายามที่จะสร้างความสุขประเภทนี้ ก็ทำให้ชีวิตมีคุณภาพอย่างน่าภาคภูมิใจแล้ว

      ผู้ที่ได้รับความสุขประเภทที่สองและสามในระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น จึงจะมีโอกาสดับความหิวโหย หรือความอ้างว้างว้าเหว่ในใจได้ อาตมาเชื่อว่าลึกๆ แล้ว ทุกคนต้องการความสุขอันเยือกเย็น ที่เกิดจากความดี ความสงบ และปัญญา เพียงแต่ว่ายังไม่รู้ตัว การหวังความสุขที่มั่นคงเป็นที่พึ่งได้ ส่อให้เห็นถึงความต้องการเช่นนี้ ทำไมเราจึงต้องการความสุขที่ไม่เสื่อม? คำตอบน่าจะเป็นเพราะว่าในจิตใต้สำนึกแล้ว เรารู้ว่าตนเองมีสิทธิและมีศักยภาพพอที่จะได้ความสุขที่ถาวร พ้นความแตกสลาย

        น่าเสียดายว่านิทาน นิยาย เพลง ละคร ฯลฯ พากันล้างสมองเราว่า สิ่งเดียวที่จะให้ความสุขอย่างนี้แก่เราได้ คือ ความรัก คนหนุ่มสาวจึงสัญญากันว่า จะรักกันจนดินฟ้าทลาย แต่ความจริงปรากฏว่า ความรักอมตะของหลายๆ คู่ แต่งงานกันไม่กี่ปี หรือไม่ทันถึงปีก็ร่อแร่เต็มที ดินฟ้ายังคงเดิม อารมณ์ทลายไปก่อน

        องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเข้าใจตนเอง พระองค์ชี้แจงเปิดเผยธรรมชาติของกาย ธรรมชาติของใจ ธรรมชาติของความทุกข์และความสุข ถ้าจะให้พุทธธรรมเป็นศาสตร์ ก็ต้องเป็นสุขทุกขศาสตร์ ศาสตร์อื่นทั้งหมดเป็นแค่บริวารของศาสตร์นี้เท่านั้น หากขาดพุทธศาสตร์เป็นหลักเป็นฐานเสียแล้ว ศาสตร์ทางโลกย่อมเป็นดาบสองคมทั้งสิ้น

       พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีดับทุกข์ หาสุขที่ถูกต้องและได้ผล ส่วนเรื่องสวรรค์นรก ชาติก่อน ชาติหน้า เชื่อได้ก็เป็นบุญ ยังไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร ค่อยเอาไว้คุยทีหลัง สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของพุทธธรรมคือ เรื่องภพนี้และชาตินี้ พระองค์ตรัสว่า โดยปกติชีวิตของมนุษย์ไม่เป็นสุข เพราะหลงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา การฝึกให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ถอดถอนอุปทานจนจิตเป็นอิสระพ้นการบีบคั้นของกิเลส คือการเข้าถึงความสุขที่แท้จริง ในสายตาของนักปราชญ์ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ความสุขอย่างอื่นก็เป็นเหมือนของเด็กเล่น

      หลักการสำคัญจึงอยู่ที่การระงับกิเลสด้วยการควบคุม กาย วาจา (ศีล) การพัฒนาคุณธรรม เช่น ความอดทน ความขยัน ความเมตตากรุณา ความสงบ (สมาธิ) และการพิจารณาสิ่งที่มากระทบให้เห็นความไม่คงที่ ไม่คงตัว ไม่เป็นตัวหรือของตัว (ปัญญา)

      พระพุทธศาสนายอมรับความสุขที่เกิดจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ว่าเป็นของจริง แต่เตือนว่าอย่าสำคัญมั่นหมายจนเกินไป เพราะถึงแม้เผินๆ จะดูว่าดี แต่ความจริงมันไม่ดีอย่างที่คิด รูปอาจดูสวยแต่ไกล แต่พอเข้าใกล้สัมผัสจริงๆ แล้วก็จูบไม่หอม ฉะนั้น อย่าหลับหูหลับตาเก็บกด หรือพยายามหันหลังให้ข้อบกพร่องของมัน มองเห็นแต่ด้านดี จนหลงใหลหมกมุ่น และถึงกับกล้าผิดศีลหรือผิดหลักธรรม เพื่อครอบครองสิ่งที่ตนอยากเหล่านั้น
เราต้องรู้เท่าทันความไม่แน่นอนของสังขารร่างกาย ความไม่แน่นอนของอารมณ์ ความไม่แน่นอนของคนรอบข้าง และของวัตถุที่เราอยู่อาศัย ความปลอดภัยไม่ได้เกิดจาก การบังคับให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นตามใจเรา หากเกิดจากการยอมรับความจริงของทุกสิ่ง และปฏิบัติต่อมันด้วยสติปัญญา ละสิ่งที่ควรละ บำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญตามความเหมาะสม

      ที่จริง การพิจารณาให้เห็นความไม่แน่นอนของชีวิต ไม่เหลือวิสัยของใคร แต่เราไม่ค่อยอยากทำเพราะกลัวจะเสียความรู้สึก กลัวชีวิตจะจืดชืด จะแห้งแล้ง พูดง่ายๆ ว่าเสียดายกิเลส ถ้าเราปฏิบัติธรรมแล้วสังเกตว่าหัวเริ่มหด เกิดความลังเลไม่มั่นใจ ขอให้ระลึกว่าครูบาอาจารย์ผู้ที่ข้ามพ้นไปแล้ว ท่านยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าละกิเลสแล้ว ชีวิตจึงจะสดชื่นเบิกบาน

      ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเอหิปัสสิโก คือชวนมาดู ทนต่อการพิสูจน์ ท่านไม่ต้องการให้เราเชื่ออะไรง่ายๆ ท่านต้องการให้เราเอาคำสอนไปดู เทียบเคียงกับชีวิตของเราว่าจริงไหม? อย่างเช่น ท่านสอนว่าทุกวันนี้เราเป็นทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่น ความผูกพัน การหวังความสุขแต่จากสิ่งนอกตัว ยึดมั่นถือมั่นมากก็ทุกข์มาก ยึดมั่นถือมั่นน้อยก็ทุกข์น้อย ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยก็ไม่ทุกข์เลย คำสอนลักษณะอย่างนี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่ผู้มีศรัทธาต้องเชื่อ หากเป็นเรื่องประสบการณ์ของมนุษย์แท้ๆ คำสอนของพระพุทธศาสนาล้วนแต่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน เกี่ยวกับความสุข เกี่ยวกับความทุกข์ของมนุษย์.

      : ธรรมเทศนาของ พระชยสาโร (Chayasaro Bhikkhu) (ท่านเป็นฝรั่งที่บรรพชาในสายพระป่า หลวงปู่ชา สุภทฺโธ)

      ท่านชยสาโร วิจารณ์สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ได้อย่างตรงไปตรงมา และยังแนะแนวทางแสวงหาความสุขที่แท้จริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะไว้ ไม่ใช่ความสุขแบบจอมปลอม ที่ผู้คนจำนวนมากวิ่งวุ่นไขว่คว้ากันอย่างมืดบอด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมวุ่นวายทุกวันนี้ 
อาตมาเคยเห็นการ์ตูนรูปหนึ่ง เป็นภาพทหารเบาปัญญาอยู่ท่ามกลางสนามทุ่นระเบิด เขาถือเครื่องตรวจสอบทุ่นระเบิด แต่กลับค่อยๆ เดินถอยหลัง คนจำนวนไม่น้อยก็พยายามดับเหตุให้เกิดทุกข์ทำนองนั้นเหมือนกัน เครื่องอุปกรณ์ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้ามีพร้อมแต่ใช้ไม่ถูก
    พันกว่าปีก่อนที่คำว่า "มีดโกนอาบน้ำผึ้ง" จะถูกใช้เรียกฝีปากนักการเมือง โบราณาจารย์ท่านเคยใช้คำว่า "น้ำผึ้งอาบมีดโกน" โดยหมายถึง ความสุขทางเนื้อหนัง ใครหลงใหลความสุขประเภทนี้ ท่านเปรียบเทียบเป็นผู้กำลังเลียน้ำผึ้งที่อาบมีดโกนอยู่ สมัยนี้คนลิ้นถูกบาดมีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง แต่คนเข็ดหลาบหายาก อะเมซิ่งเหมือนกัน
ทุกวันนี้เราชอบส่ายหัว บ่นกันถึงเรื่องสังคมปัจจุบันว่า..ยุคนี้เป็นยุคที่คนเห็นแก่ตัวเหลือเกิน เอาแต่ใจตนเอง หรือหาแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวถ่ายเดียว คนแก่มักจะเติมว่าไม่เหมือนสมัยก่อน สมัยก่อนคนไทยยังมีน้ำใจต่อกันดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เดี๋ยวนี้เอาแต่ตัวใครตัวมัน อาตมาไม่แก่เท่าไร ก็ยังชอบมองแบบนั้นบ้างเหมือนกัน แต่อาตมาได้สังเกตสิ่งที่น่าตลก (ร้าย) อย่างหนึ่งนั่นคือทั้งๆ ที่การช่วงชิงแก่งแย่งกันในสังคมเพิ่มทวีขึ้น เหมือนกับความสุขมีจำกัด ใครไม่รีบคว้าเอาจะเสียเปรียบ แต่ขณะเดียวกันนั้น คนส่วนใหญ่กลับทำในสิ่ง ที่ไม่นำไปสู่ความสุขที่ตนต้องการ และทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเองอยู่เรื่อย เขาจึงยิ่งทุกข์มากกว่าคนในยุคสบายๆ ที่คนไทยยังเป็นฝ่ายบุญนิยมกันอยู่ เป็นเพราะอะไร? ถ้าไม่ใช่การประชดตัวเอง ก็น่าจะต้องสรุปว่าพวกเราสุขไม่ค่อยเป็น
     
     ดูเหมือนกับว่าระบบการศึกษาของตะวันตก ซึ่งแพร่หลายถึงเมืองไทยมาหลายสิบปีแล้ว ได้สร้างคนรู้มากไว้มาก สร้างคนเข้าใจมากไว้น้อยในหมู่คนไทย ปัญญาในเรื่องคุณภาพชีวิต ความเข้าใจในสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ ธรรมชาติของความสุขและความทุกข์ น่ากลัวได้ลดน้อยลง คนสมัยนี้สมองใสก็จริงแต่ตาถั่ว
     
     มนุษย์เป็นสัตว์เจ้าปัญหาเพราะขาดเชาวน์ ด้อยปัญญาที่แท้จริง เกลียดทุกข์รักสุข ทะเยอทะยานดิ้นรนแทบตาย เพื่อสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าเป็นสุข แต่ไม่เคยใคร่ครวญว่าความสุขคืออะไรกันแน่ สิ่งที่เราต้องการเดี๋ยวนี้ หรือทุกวันนี้ จะให้ความสุขแก่เราจริงอย่างที่คิดหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จะมีผลกระทบต่อคนอื่น และต่ออนาคตของเราอย่างไรบ้าง ความทุกข์ที่เราเกลียด และกลัวที่สุดนั้นเกิดจากเหตุปัจจัยอะไรบ้าง ทุกวันนี้เราแก้ถูกวิธีหรือไม่ มนุษย์อยากสุขแต่ไม่รู้จักสุข อยากหนีทุกข์แต่ไม่รู้จักทุกข์ สุ่มสี่สุ่มห้าเดินคลำไปคลำมาในความมืด เอาความหวังในความสุขข้างหน้าเป็นที่ปลอบใจ บางคนอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเนรมิตให้ ความมืดกลายเป็นความสว่าง แต่พระพุทธศาสนาสอนว่า โยม มันสว่างอยู่แล้ว ไม่ต้องไปบนบานศาลกล่าวที่ไหนหรอก ลืมตาก็จะเห็นเอง
    
     สิ่งแรกที่ผู้ต้องการชีวิตที่ดีงามควรกระทำ คือฝึกให้หยุดจากการกระเสือกกระสนสักพักหนึ่ง ลืมหูลืมตาขึ้นพิจารณาความเป็นมนุษย์ของเรา ว่าเราเกิดมาทำไม อะไรคือสิ่งที่สูงสุดที่เราควรจะได้จากชีวิต เราควรจะให้อะไรไว้กับโลกนี้ คำถามเหล่านี้สำคัญ แต่อย่าเชื่อคำตอบใครง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่างมงายตามพวก(แนวคิดปรัชญา)วัตถุนิยมจะเสียคน จงหาคำตอบของตนเองด้วยสติ ปัญญา และความจริงใจ
      
    ความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องในเป้าหมายของชีวิต และวิธีการที่จะเข้าถึงเป้าหมายนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า สัมมาทิฐิ ผู้ที่มุ่งจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในสิ่งที่ดีงาม จะขาดสัมมาทิฐิไม่ได้ เพราะคนเราถ้าคิดผิดแล้ว การกระทำ และคำพูดทุกอย่างย่อมพลอยผิดไปด้วย จิตก็พาลพาไปหาผิดอยู่ร่ำไป
   
      ในเบื้องต้น หนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เสวยสุขที่แท้จริงนั้น เริ่มด้วยทิฐิระดับความเชื่อถือ ค่านิยม แนวความคิดซึ่ง หนึ่ง ไม่นำไปสู่การเบียดเบียนตนหรือผู้อื่น เช่น กินเพื่ออยู่ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน ถือการรักษาศีลห้าเป็นมาตรฐานชีวิต และสอง ลงรอยกับความจริงของธรรมชาติ เช่น เรามีกรรมเป็นของๆ ตน การละกิเลสนำสุขมาให้ การพ้นทุกข์ไม่พ้นสมัย สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ท่านจึงเน้นในการปรับทิฐิ ให้สอดคล้องกับความดีและความจริง
     
      ตรงนี้แหละที่น่าจะเป็นจุดอ่อนของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยทุกวันนี้ คือ เราได้เน้นเรื่องของการทำทานมากเกินไปหรือเปล่า? เน้นจนละเลยในการเสริมสร้างสัมมาทิฐิ คือแนวการมองความหมายของชีวิตและโลก ความเข้าใจในเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ ความหมายของคำว่า ดี ชั่ว บุญ บาป ความเข้าใจว่า อะไรคือพฤติกรรมที่นักปราชญ์สรรเสริญ อะไรคือพฤติกรรมที่ผู้รู้ตำหนิ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความเข้าใจในเรื่องความสุขและความทุกข์ ในสมัยนี้ดูเหมือนว่าความเข้าใจของคนทั่วไปในสิ่งเหล่านี้ ค่อนข้างพร่ามัว คนไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา ก็ย่อมไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร แล้วอย่างนี้จะเป็นความผิดของศาสนาหรือ ใครอยู่ใกล้เกลือแล้วอยากกินด่างก็เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ปัญหาต่างๆ มักจะเกิดขึ้นในสังคม เมื่อผู้กินด่างหลงเชื่อกันว่าด่างคือเกลือ จึงมักบ่นว่าทุกวันนี้เกลือไม่เค็มจริง
เรามีวัดนับหมื่น มีพระภิกษุสามเณรนับแสนก็จริง แต่ถ้าหากว่าเราไม่เอาใจใส่ในแนวความคิดของชาวพุทธ ไม่ชี้แจงและเผยแพร่คำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายชีวิต ไม่อธิบายว่าความคิดอย่างไรเข้าได้และเข้าไม่ได้กับหลักพุทธธรรม ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าพระบวรพุทธศาสนาของเรา จะกลายเป็นต้นโพธิ์ที่ยืนต้นตายในอนาคตอันไม่ไกล
      ทุกวันนี้ปรากฏว่ามีชาวพุทธมากมายที่ถือว่าความร่ำรวย การมีอำนาจ ชื่อเสียง ยศฐาบรรดาศักดิ์ ความพรั่งพร้อมด้วยวัตถุ คือยอดความสุขของฆราวาส ความคิดอย่างนี้ท่านเรียกว่า มิจฉาทิฐิ เพราะจะเป็นเหตุของการประพฤติที่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเอง ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อม มันไม่เป็นความจริง ความสุขดังกล่าวเป็นแค่ความสุขระดับล่าง ย่อมมีทุกข์ไม่มากก็น้อยเจือปนอยู่เสมอ สังคมใดที่เต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ นิยมการอวดฐานะ บ้ายี่ห้อ ให้เกียรติคนรวยโดยไม่สนใจว่ารวยมาอย่างไร สังคมที่ถือว่า การเป็นเจ้าคนนายคน คือการประสบความสำเร็จในชีวิตเรียบร้อยแล้ว (โดยไม่พิจารณาความประพฤติ) หรือที่ถือว่าผู้เป็นใหญ่เป็นโตแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎของสังคมเหมือนคนธรรมดา สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงอาการของสังคมที่วิปริตทางทิฐิคือ คิดผิดทั้งสิ้น

    คนเรามองอะไรว่า ว่าเป็นความสุขก็ต้องแสวงหาสิ่งนั้น ถ้าเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนหรือตัวเราเอง ให้สร้างสรรค์กว่าที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องความสุขให้ชัดขึ้น ใครไม่เห็นว่าตนเองมีความทุกข์อะไรที่จะต้องดับก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทุกคนหาความสุขที่ดีกว่าก็นับว่ายังใช้ได้

   ฉะนั้น ลองถามตนเองซิว่าความสุขคืออะไร? อะไรคือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในชีวิต? เวลาเราสวดมนต์ว่า "อะหัง สุขิโต โหมิ" ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขๆ เถิด หรือ "สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ" ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงถึงความสุขๆ เถิด ความสุขที่เราหวังที่เราอยากได้นั้นคืออะไร? ความสุขที่เราอยากให้สรรพสัตว์ทั้งหลายคืออะไร? มันน่าคิดนะ ถ้าคำตอบยังเป็นเรื่องกิน กาม เกียรติ นับว่าเรายังไม่เป็นมิตรแท้ของตนเอง และของเพื่อนร่วมโลกเพราะความคิดยังต่ำไป

      ทุกคนในโลกนี้ล้วนแต่ต้องการความสุขเพราะอะไร? เพราะทุกคนรู้สึกว่ายังได้ไม่พอ ที่เคยได้แล้วก็ดีอยู่แต่ยังไม่ดีที่สุด ความสุขที่เคยได้ พอผ่านไปแล้วก็เหลือแต่ความทรงจำที่หวานชื่น (กว่าของจริง) จึงอยากได้อีก ทางพระเขาบอกว่าจิตใจของผู้ที่ยังไม่เข้าถึงธรรม มีความพร่องอยู่เป็นนิจ หิวอยู่ตลอดเวลา สังคมเราไม่เห็นโทษของการฝากความหวังไว้กับความสุขประเภทนี้ ทั้งๆ ที่ครูบาอาจารย์ได้เตือนอยู่เสมอ แต่ไหนแต่ไรมา จึงกลายเป็นสังคมปากอ้า เต็มไปด้วยมนุษย์ที่วิ่งตามล่าหาความรู้สึกชั่วแวบอยู่อุตลุต นับถือพระพุทธศาสนาอยู่บางทีห้อยพระเต็มคอ แต่ในชีวิตจริงกลับนับเงินและถือสากันมากกว่า ยึดเอาอารมณ์ยินดียินร้ายในทรัพย์สินและอัตตาเป็นหลักชีวิต ต่อไปพวกนี้อาจจะต้องขอพึ่งพระรัตนตรัยใหม่ที่ไม่เป็นศรี คือ

    รักชัง สรณัง คัจฉามิ สตางค์ สรณัง คัจฉามิ โอหัง สรณัง คัจฉามิ (ทุติยัมปิ...ตติยัมปิ...)

       เมื่อเราไม่เข้าใจธรรมชาติของตนเอง ไม่เข้าใจธรรมชาติของโลก ตัณหาก็จะเป็นผู้สนตะพายโดยเราหลงหวังไปว่าโลกจะให้สิ่งที่ จริงๆ แล้วโลกให้เราไม่ได้ คือ ความสุขที่ไม่รู้โรย ความสุขที่ยืนยงคงกระพัน
แต่สัจธรรมความจริงที่ปุถุชนไม่อยากรับรู้ คือ สิ่งที่เราจะได้จากโลกมีแค่ความสุขแบบกระตุ้นประสาท หรือบำเรออัตตาเท่านั้น

      กายและใจของเราจะมีความสุขกับการกระตุ้นประสาทมากไม่ได้ มันจะเหนื่อย อีกทั้งถ้ากระตุ้นบ่อยประสาทก็เริ่มด้าน จึงต้องเพิ่มอัตราและความเข้มของการกระตุ้นอยู่เรื่อยๆ ความสุขทางเนื้อหนังจึงย่อมกระท่อนกระแท่นเป็นธรรมดา พ้นการขึ้นๆ ลงๆ ไม่ได้ น้อยคนเหลือเกินสนใจจะหยุดทบทวน หรือคิดพิจารณาว่าความสุขที่อยากได้คืออะไร ชีวิตของมนุษย์จึงหนีไม่พ้นความผิดหวัง ปัญหาในโลกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าปัญหาภายในจิตใจของคนเรา ปัญหากับคนรอบข้าง หรือปัญหาในสังคมทั่วไป เกิดจากการหวังความสุขที่ถาวรจากสิ่งที่ไม่ถาวร เมื่อไม่ได้สมหวังก็ระทมขมขื่น สมหวังแล้วก็ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ตนยึดติด ก็เศร้าโศกหรือกลัดกลุ้ม

     พระพุทธองค์ตรัสว่า ความสุขมีหลายอย่าง นอกจากความสุขสามัญแล้ว ทุกคนไม่ว่านักบวชหรือผู้ครองเรือน ควรหาความสุขที่เกิดจากคุณงามความดี และความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากการเป็นอิสระจากกิเลส จะได้มากน้อยแค่ไหนก็ไม่ต้องกังวล เพียงแค่ความพยายามที่จะสร้างความสุขประเภทนี้ ก็ทำให้ชีวิตมีคุณภาพอย่างน่าภาคภูมิใจแล้ว

      ผู้ที่ได้รับความสุขประเภทที่สองและสามในระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น จึงจะมีโอกาสดับความหิวโหย หรือความอ้างว้างว้าเหว่ในใจได้ อาตมาเชื่อว่าลึกๆ แล้ว ทุกคนต้องการความสุขอันเยือกเย็น ที่เกิดจากความดี ความสงบ และปัญญา เพียงแต่ว่ายังไม่รู้ตัว การหวังความสุขที่มั่นคงเป็นที่พึ่งได้ ส่อให้เห็นถึงความต้องการเช่นนี้ ทำไมเราจึงต้องการความสุขที่ไม่เสื่อม? คำตอบน่าจะเป็นเพราะว่าในจิตใต้สำนึกแล้ว เรารู้ว่าตนเองมีสิทธิและมีศักยภาพพอที่จะได้ความสุขที่ถาวร พ้นความแตกสลาย

        น่าเสียดายว่านิทาน นิยาย เพลง ละคร ฯลฯ พากันล้างสมองเราว่า สิ่งเดียวที่จะให้ความสุขอย่างนี้แก่เราได้ คือ ความรัก คนหนุ่มสาวจึงสัญญากันว่า จะรักกันจนดินฟ้าทลาย แต่ความจริงปรากฏว่า ความรักอมตะของหลายๆ คู่ แต่งงานกันไม่กี่ปี หรือไม่ทันถึงปีก็ร่อแร่เต็มที ดินฟ้ายังคงเดิม อารมณ์ทลายไปก่อน

        องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเข้าใจตนเอง พระองค์ชี้แจงเปิดเผยธรรมชาติของกาย ธรรมชาติของใจ ธรรมชาติของความทุกข์และความสุข ถ้าจะให้พุทธธรรมเป็นศาสตร์ ก็ต้องเป็นสุขทุกขศาสตร์ ศาสตร์อื่นทั้งหมดเป็นแค่บริวารของศาสตร์นี้เท่านั้น หากขาดพุทธศาสตร์เป็นหลักเป็นฐานเสียแล้ว ศาสตร์ทางโลกย่อมเป็นดาบสองคมทั้งสิ้น

       พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีดับทุกข์ หาสุขที่ถูกต้องและได้ผล ส่วนเรื่องสวรรค์นรก ชาติก่อน ชาติหน้า เชื่อได้ก็เป็นบุญ ยังไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร ค่อยเอาไว้คุยทีหลัง สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของพุทธธรรมคือ เรื่องภพนี้และชาตินี้ พระองค์ตรัสว่า โดยปกติชีวิตของมนุษย์ไม่เป็นสุข เพราะหลงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา การฝึกให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ถอดถอนอุปทานจนจิตเป็นอิสระพ้นการบีบคั้นของกิเลส คือการเข้าถึงความสุขที่แท้จริง ในสายตาของนักปราชญ์ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ความสุขอย่างอื่นก็เป็นเหมือนของเด็กเล่น

      หลักการสำคัญจึงอยู่ที่การระงับกิเลสด้วยการควบคุม กาย วาจา (ศีล) การพัฒนาคุณธรรม เช่น ความอดทน ความขยัน ความเมตตากรุณา ความสงบ (สมาธิ) และการพิจารณาสิ่งที่มากระทบให้เห็นความไม่คงที่ ไม่คงตัว ไม่เป็นตัวหรือของตัว (ปัญญา)

      พระพุทธศาสนายอมรับความสุขที่เกิดจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ว่าเป็นของจริง แต่เตือนว่าอย่าสำคัญมั่นหมายจนเกินไป เพราะถึงแม้เผินๆ จะดูว่าดี แต่ความจริงมันไม่ดีอย่างที่คิด รูปอาจดูสวยแต่ไกล แต่พอเข้าใกล้สัมผัสจริงๆ แล้วก็จูบไม่หอม ฉะนั้น อย่าหลับหูหลับตาเก็บกด หรือพยายามหันหลังให้ข้อบกพร่องของมัน มองเห็นแต่ด้านดี จนหลงใหลหมกมุ่น และถึงกับกล้าผิดศีลหรือผิดหลักธรรม เพื่อครอบครองสิ่งที่ตนอยากเหล่านั้น
เราต้องรู้เท่าทันความไม่แน่นอนของสังขารร่างกาย ความไม่แน่นอนของอารมณ์ ความไม่แน่นอนของคนรอบข้าง และของวัตถุที่เราอยู่อาศัย ความปลอดภัยไม่ได้เกิดจาก การบังคับให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นตามใจเรา หากเกิดจากการยอมรับความจริงของทุกสิ่ง และปฏิบัติต่อมันด้วยสติปัญญา ละสิ่งที่ควรละ บำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญตามความเหมาะสม

      ที่จริง การพิจารณาให้เห็นความไม่แน่นอนของชีวิต ไม่เหลือวิสัยของใคร แต่เราไม่ค่อยอยากทำเพราะกลัวจะเสียความรู้สึก กลัวชีวิตจะจืดชืด จะแห้งแล้ง พูดง่ายๆ ว่าเสียดายกิเลส ถ้าเราปฏิบัติธรรมแล้วสังเกตว่าหัวเริ่มหด เกิดความลังเลไม่มั่นใจ ขอให้ระลึกว่าครูบาอาจารย์ผู้ที่ข้ามพ้นไปแล้ว ท่านยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าละกิเลสแล้ว ชีวิตจึงจะสดชื่นเบิกบาน

      ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเอหิปัสสิโก คือชวนมาดู ทนต่อการพิสูจน์ ท่านไม่ต้องการให้เราเชื่ออะไรง่ายๆ ท่านต้องการให้เราเอาคำสอนไปดู เทียบเคียงกับชีวิตของเราว่าจริงไหม? อย่างเช่น ท่านสอนว่าทุกวันนี้เราเป็นทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่น ความผูกพัน การหวังความสุขแต่จากสิ่งนอกตัว ยึดมั่นถือมั่นมากก็ทุกข์มาก ยึดมั่นถือมั่นน้อยก็ทุกข์น้อย ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยก็ไม่ทุกข์เลย คำสอนลักษณะอย่างนี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่ผู้มีศรัทธาต้องเชื่อ หากเป็นเรื่องประสบการณ์ของมนุษย์แท้ๆ คำสอนของพระพุทธศาสนาล้วนแต่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน เกี่ยวกับความสุข เกี่ยวกับความทุกข์ของมนุษย์.

      : ธรรมเทศนาของ พระชยสาโร (Chayasaro Bhikkhu) (ท่านเป็นฝรั่งที่บรรพชาในสายพระป่า หลวงปู่ชา สุภทฺโธ)

      ท่านชยสาโร วิจารณ์สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ได้อย่างตรงไปตรงมา และยังแนะแนวทางแสวงหาความสุขที่แท้จริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะไว้ ไม่ใช่ความสุขแบบจอมปลอม ที่ผู้คนจำนวนมากวิ่งวุ่นไขว่คว้ากันอย่างมืดบอด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมวุ่นวายทุกวันนี้ 

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อคิดดีๆจากท่าน ว.วชิรเมธี "น่าเสียดาย"


น่าเสียดาย ที่เรามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
แต่เรากลับศรัทธาไสยศาสตร์หัวปักหัวปำ



น่าเสียดาย ที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่แสนดี
แต่เรากลับมีคนโกงกินเต็มบ้านเต็มเมือง



น่าเสียดาย ที่เรามีวัดอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน/ตำบล
แต่เรากลับมากด้วยคนขาดจริยธรรมอยู่ทั่วไป


น่าเสียดาย ที่เราสถาปนาประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475
แต่เรากลับมีปฏิวัติ/รัฐประหารมาแล้ว 14 ครั้ง



น่าเสียดาย ที่เรามีมหาวิทยาลัยมากมายติดอันดับโลก
แต่เรากลับโชคร้ายที่คนไทยชอบดูดวงบวงสรวงเทพยดา



น่าเสียดาย ที่เรามีป่าไม้-แม่น้ำ-ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
แต่เรากลับเทิดทูนการทำลายแทนการรักษา


น่าเสียดาย ที่เรามีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
แต่เรากลับเก่ง "การลอกเลียนแบบ" เป็นที่สุด



น่าเสียดาย ที่เรามีสื่อมวลชนมากมายไร้พรมแดน
แต่เจ็บปวดเหลือแสนเมื่อสื่อมวลชนมุ่งแต่การขายสินค้า



น่าเสียดาย ที่เรามีกฎหมาย
แต่เรากลับปล่อยให้มีการใช้กฎหมู่จนเป็นเรื่องธรรมดา



น่าเสียดาย ที่เรามีหนังสือมากมายหลายพันเล่มในห้องสมุด
แต่สถิติสูงสุดคือเราอ่านหนังสือกันปีละ 8 บรรทัด



น่าเสียดาย ที่เรามีอินเทอร์เน็ตใช้ก่อนประเทศในโลกที่สาม
แต่เรากลับเสื่อมทรามเพราะใช้ส่งภาพถ่ายคลิปโป๊



น่าเสียดาย ที่เรามีโทรทัศน์หลายสิบช่อง
แต่เรากลับจ้องจะดูแต่ละครน้ำเน่า



น่าเสียดาย ที่เรามีพ่อแม่อยู่ในบ้าน
แต่เรากลับปล่อยให้ท่านอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา



น่าเสียดาย ที่เราสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้
แต่เรากลับชอบใจที่จะเป็นคนเลวตลอดกาล



น่าเสียดาย ที่เราเป็นอิสระจากความอยากได้
แต่เรากลับพึงใจอยู่กับการสนองความอยาก



น่าเสียดาย ที่เราบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้
แต่เรากลับยินดีอยู่แค่การทำบุญให้ทาน


สุดท้าย .. น่าเสียดาย ถ้าได้อ่านแล้ว ไม่นำไปพิจารณา

นิทานคุณธรรม นิทานสอนใจ



นิทานคุณธรรม ปลุกมันขึ้นมาฆ่า
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ปรารภการยกย่องอสัตบุรุษของพระเจ้าอชาตศัตรู ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…
ในกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีลูกศิษย์ประมาณ ๕๐๐ คน ในนั้นมีมานพคนหนึ่งชื่อ สัญชีวะ ได้เรียนมนต์ทำคนตายให้ฟื้นคืนมาได้แต่ไม่ได้เรียนมนต์สำหรับป้องกัน
วันหนึ่ง เขาเข้าไปหาฟืนกับเพื่อน เห็นเสือตายตัวหนึ่งนอนตายอยู่ ก็พูดกับเพื่อนๆ ว่า
” เราจะทำเสือตายตัวนี้ ให้ฟื้นคืนมา พวกท่านจะเชื่อเราหรือไม่ ” พวกเพื่อนๆไม่เชื่อและท้าว่า ” ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงปลุกให้มันตื่นขึ้นมาเถิด ” แล้วก็ต่างรีบปีนขึ้นต้นไม้ไป
ส่วนนายสัญชีวะ ร่ายมนต์แล้วขว้างเสือตายด้วยก้อนหิน ทันใดนั้นเอง เสือได้ลุกขึ้น กระโดดกัดที่ก้านคอของเขา ทำให้เขาเสียชีวิตล้มลงตรงนั้นเอง ทั้งคนและสัตว์นอนตายในที่เดียวกัน พวกมานพขนฟืนไปแล้ว บอกเรื่องนั้นแก่อาจารย์ อาจารย์จึงกล่าวคาถาว่า
” ผู้ใดยกย่องและคบหาคนชั่ว
คนชั่วย่อมกระทำผู้นั้นแหละ ให้เป็นเหยื่อ
เหมือนเสือโคร่งที่สัญชีวมานพทำให้ฟื้นขึ้น แล้วทำเขานั้นแล ให้เป็นเหยื่อ ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
การที่นิยมยกย่องคนไม่ดี ย่อมประสบความเดือดร้อน
นิทานคุณธรรม สุนัขจิ้งจอกอยากเป็นผู้นำ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชสีห์ อาศัยอยู่ในถ้ำทอง ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่ง ออกจากถ้ำทอง ไปหาอาหาร ได้กระบือใหญ่ ตัวหนึ่ง กินเนื้อแล้ว ไปดื่มน้ำที่สระแห่งหนึ่ง ในขณะที่เดินกลับถ้ำ ได้พบสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งในระหว่างทาง สุนัขจิ้งจอกจึงขออาสาเป็นผู้รับใช้ราชสีห์ด้วยความกลัวตาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสุนัขจิ้งจอกก็ได้กินเนื้อเดนราชสีห์อย่างอิ่มหนำสำราญ มันมีหน้าที่ขึ้นยอดเขาไปดูสัตว์ที่จะเป็นอาหาร แล้วกลับลงมาบอกพระยาราชสีห์ว่า ” ข้าพเจ้า อยากกินเนื้ออย่างโน้น นายท่าน จงแผดเสียงเถิด ” พระยาราชสีห์ก็จะไปจับสัตว์ตัวนั้นมาเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อนานาชนิดหรือแม้กระทั่งช้าง
ครั้นเวลาผ่านไปหลายปี สุนัขจิ้งจอก ชักกำเริบเกิดความคิดว่า ” แม้ตัวเรา ก็เป็นสัตว์ มี ๔ เท้าเหมือนกัน เหตุใด จะให้ผู้อื่นเลี้ยงอยู่ทุกวันเล่า นับแต่นี้เป็นต้นไป เราจะฆ่าช้างเป็นอาหารกินเนื้อเอง แม้แต่ ราชสีห์ก็เพราะอาศัยเราบอกว่านายขอรับ เชิญท่านแผดเสียงเถิด เท่านั้น ก็จึงฆ่าสัตว์ต่างๆได้ ต่อแต่นี้ เราจะให้ราชสีห์พูดกับเราบ้าง ” ได้เข้าไปหาราชสีห์แล้วบอกเรื่องนั้น
แม้ถูกพระยาราชสีห์พูดเยาะเย้ยว่า ” เป็นไปไม่ได้ ” ก็ตามคงเซ้าซี้อยู่นั่นเอง พระราชสีห์เมื่อไม่อาจห้ามมันได้ ก็รับคำให้สุนัขจิ้งจอกนอนในที่นอนของตน แล้วไปคอยดูช้างตกมันที่เชิงเขาพบแล้ว ก็กลับเข้ามาบอกสุนัขจิ้งจอกว่า ” จิ้งจอกเอ๋ย เชิญแผดเสียงเถิด ”
สุนัขจิ้งจอก ออกจากถ้ำทอง สลัดกาย มองทิศทั้ง ๔ หอนขึ้นสามคาบ วิ่งกระโดดเข้างับช้างหวังที่ก้านคอช้าง กลับพลาดไปตกที่ใกล้เท้าช้าง ช้างจึงยกเท้าขวาขึ้นไปเหยียบหัวจิ้งจอก จนหัวกะโหลกแตกเป็นจุน แล้วเอาเท้าคลึงร่างของมันทำเป็นกองไว้แล้วเยี่ยวรดข้างบน ร้องกัมปนาทเข้าป่าไป พญาราชสีห์เห็นเช่นนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า
” มันสมองของเจ้าทะลักออกมา กระหม่อมของเจ้าก็ถูกทำลาย
ซี่โครงของเจ้า ก็หักหมดแล้ว วันนี้ เจ้าช่างรุ่งโรจน์เหลือเกิน ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อย่าคิดทำอะไร เกินกำลังความสามารถของตัวเอ
นิทานคุณธรรม ไก่ขันไม่เป็นเวลา
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ท่องบ่นไม่เป็นเวลารูปหนึ่ง สร้างความรำคาญและความเดือดร้อนแก่หมู่ภิกษุ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ บอกศิลปะแก่มานพประมาณ ๕๐๐ คน พวกมานพอาศัยไก่ขันยามตัวหนึ่ง ในการลุกขึ้นศึกษาศิลปะ ต่อมามันได้ตายไป พวกเขาจึงแสวงหาไก่ตัวอื่นแทนมัน
วันหนึ่ง มีมานพคนหนึ่งเข้าไปหักฟืนในป่า ได้ไก่ป่าตัวหนึ่งมาเลี้ยงไว้ ไก่ตัวนี้ไม่รู้จักเวลาขัน เพราะเติบโตขึ้นในป่า บางวันก็ขันดึกเกินไป บางวันก็ขันอรุณขึ้น พวกมานพพากันตื่นมาศึกษาศิลปะในเวลาดึกเกินไป ไม่อาจศึกษาได้จนอรุณขึ้น ก็พากันนอนหลับไป ในเวลาสว่างแล้วก็ไม่ได้ท่องบ่นเลย พวกเขาจึงพากันพูดว่า ” เดี๋ยวมันขันดึกไป เดี๋ยวมันขันสายไป อาศัยไก่ตัวนี้ พวกเราคงศึกษาศิลปะไม่สำเร็จหรอก ” จึงนำมันไปแกงเป็นอาหารแล้วบอกเรื่องนั้นแก่อาจารย์
อาจารย์จึงกล่าวคาถาว่า
” ไก่ตัวนี้ ไม่ได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่
ไม่ได้อยู่ศึกษาในสำนักอาจารย์
จึงไม่รู้เวลาที่ควรขันและไม่ควรขัน ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
เกิดเป็นคนต้องรู้จักเวลาที่เหมาะสมว่า อะไรควรไม่ควร
นิทานคุณธรรม ตายเพราะปาก
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เมื่อเรียนจบศิลปะทุกอย่างจากเมืองตักกสิลา แล้วบวชเป็นฤาษี ได้เป็นอาจารย์ผู้ให้โอวาทแก่ฤาษี ๕๐๐ ตน
ในที่นั้น มีฤาษีขี้โรคผอมเหลืองผู้หนึ่ง วันหนึ่ง ท่านกำลังนั่งฝ่าฝืนอยู่ ได้มีฤาษีปากมากผู้หนึ่งเข้ามานั่งใกล้ๆ แล้วพูดว่า ” ท่านจงฟันอย่างนี้ จงฟันตรงนี้ ”
ทำให้ฤาษีขี้โรคโกรธแล้วกล่าวว่า ” ท่านไม่ใช่อาจารย์สอนศิลปะการฝ่าฟืนของผมนะ ” จึงฟันดาบสนั้นเสียชีวิตด้วยมีดฝ่าฟืนนั่นเอง
และในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของฤาษี มีนกกระทาตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่จอมปลวก ทุกเช้าเย็นมันจะขึ้นไปยืนขันเสียงดังลั่นอยู่บนจอมปลวกนั้นเป็นประจำทุกวัน เป็นเหตุให้พรานผู้หนึ่งมาจับมันไปเป็นอาหาร
ฤาษีพระโพธิสัตว์ไม่ได้ยินเสียงมันขันจึงถามหมู่ฤาษี เมื่อทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ท่ามกลางหมู่ฤาษีว่า
” คำพูดที่ดังเกินไป รุนแรงเกินไป และพูดเกินเวลา
ย่อมฆ่าคนผู้มีปัญญาทรามเสีย
เหมือนเสียงฆ่านกกระทา ที่ขันดังเกินไป ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
การพูดมากไม่ดี ควรพูดตามกาลเทศะ และพูดแต่ที่ดี

เธอเป็นทุกข์ จริงหรือ


เธอรู้มั้ย ... ในช่วงเวลาที่เธออิ่ม
ช่วงเวลาที่เธออยู่อย่างสุขสบาย มีความสุขหัวเราะร่าเริง
มันเป็นช่วงเวลาเดียวกัน ของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่หิวโหย
ทนทุกข์ ทรมาน กับชีวิตที่พวกเขาเลือกเกิดไม่ได้

คงไม่มีใครอยากเกิดมาพร้อมกับความยากจน
วันนี้ฉันได้รับรู้....ได้สัมผัส กับชีวิตในอีกแง่มุมหนึ่ง
และก่อนหน้าที่ฉันจะได้พบพวกเขา ฉันรู้สึกว่าตัวเองลำบาก
ว่าทำไมฉันถึงไม่เกิดมาบนท่ามกลางความสุขสบายบ้าง ..


แต่พอวันนี้ฉันได้พบพวกเขา
ได้พบกับผู้คนหนึ่งอีกกลุ่มหนึ่ง
ที่ขาดแคลนทุกๆ อย่าง แม้กระทั่งการศึกษา
ทำให้ฉันเริ่มรู้แล้วว่า.....สิ่งที่ฉันได้พบเจอ
ได้เผชิญอยู่นั้นมันช่างน้อยนิด
กับสิ่งที่พวกเขานั้นกำลังเผชิญอยู่.....

เงิน 10 บาท ของฉัน กับ เงิน 10 บาท ของเค้า
มันช่างมีค่าแตกต่างกัน เงิน 10 บาทสำหรับฉัน
มันแทบจะซื้ออะไรไม่ได้เลยในสมัยนี้ แต่สำหรับเค้าเงิน 10 บาท
มันก็มีค่ามากพอกับการซื้อหากับข้าวมาเลี้ยงคนในครอบครัว
สิ่งที่ฉันเปรียบเทียบมันไม่ได้ดูเวอร์ไปเลย สำหรับเหตุการณ์นี้

พวกเขาสอนให้ฉันรู้ว่า ถึงแม้ว่าเค้าจะยากจนลำบาก มากแค่ไหน
แต่พวกเค้าก็ไม่เคยท้อถ่อยกับปัญหา ถึงแม้ว่าเค้าจะไม่มีทางรู้เลยก็ตามว่า
อนาคตของวันพรุ่งนี้จะเป็นยังไง แต่เค้าก็ยังพร้อมที่จะยังชีพอยู่ต่อไปเพื่อวันพรุ่งนี้


ตอนนี้ฉันรู้แล้วว่า ....
เวลาที่ฉันรู้สึกว่าฉันทุกข์ ... แต่ก็ยังมีคนที่ทุกข์กว่า
เวลาที่ฉันรู้สึกว่าฉันลำบาก ... แต่ก็ยังมีคนที่ลำบากกว่า

มันก็ไม่ต่างอะไรกันเลย ถ้าตอนนี้มีใครสักคนที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองทุกข์
กับปัญหา....ที่หาทางออกไม่ได้ ไม่ว่าปัญหามันจะเกิดมากจากสาเหตุอะไรก็ตาม
ฉันอยากให้เธอรับรู้ไว้ ว่า ยังมีคนอีกเป็นร้อยเป็นพัน ที่กำลังเผชิญกับปัญหา
แต่พวกเขาก็ยังผ่านพ้นมันมาได้ แล้วทำไม เราจะผ่านมันไปบ้างไม่ได้ละ จริงไหม?

มองด้วยใจ ใช้เมตตา



อย่าตัดสิน...กันเพียง...รูปภายนอก
มันบ่งบอก...นิสัย...กันไม่ได้
อันรูปชั่ว...ตัวดำ...อาจน้ำใจ
บริสุทธิ์...สดใส...ยิ่งกว่าทอง
  
อย่าเชื่อคน...เขาบอก...ว่าควรคบ
จงทวนทบ...เหตุผล...ด้วยสมอง
มองด้วยตา...เพ่งด้วยใจ...ถึงครรลอง
ว่าสมควร...เกี่ยวดอง...หรือหมางเมิน

  
อันคนเรา...มีหลากหลาย...ให้ค้นหา
ไม่มีใคร...เลิศค่า...หรือตื้นเขิน
คนเรานั้น...มีดีชั่ว...เป็นแนวเนิน
อย่าประเมิน...คิดหมิ่น...จงเมตตา

คนเราเกิดมาด้วยจิตใจที่ไม่เหมือนกัน คือพื้นฐานของจิต

ตอนถือปฏิสนธินั้นไม่เหมือนกัน จึงมีอุปนิสัยแตกต่างกันมาตั้งแต่เยาว์ เมื่อกระทบกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอีกก็ทำให้บุคคลแตกต่างกันไปเป็นอันมาก

การอยู่รวมกันของคนหมู่มากที่มีอุปนิสัยใจคอพื้นฐานทางใจ และการอบรมที่แตกต่างกัน จึงมีปัญหามาก ถ้าเราถือเล็กถือน้อย ไม่รู้จักให้อภัย เราก็จะมีความทุกข์มาก

บางทีก็เกี่ยวกับช่องว่างระหว่างวัย ผู้ใหญ่อยากจะให้เด็กทำ พูด และคิดอย่างตน ส่วนเด็กก็อยากจะให้ผู้ใหญ่ทำพูด คิด อย่างตนเหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วเป็นไปไม่ได้

ฝ่ายผู้ใหญ่ควรให้อภัยว่าแกเป็นเด็ก ส่วนเด็กก็ควรให้อภัยว่าท่านแก่แล้ว มาเข้าใจกันเสีย คือเห็นใจซึ่งกันและกัน เมื่อเป็นดังนี้เรื่องเล็กก็จะไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ทุกฝ่ายอยู่กันด้วยความเห็นใจ เข้าใจ มองกันอย่างเป็นมิตร ไม่เป็นศัตรูต่อกัน 

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

“50 ข้อคิด”

มุมมองเพื่อความเข้าใจในชีวิต

1. เมื่อเด็กกำลังเติบโตเป็นวัยรุ่น มีความต้องการเป็นตัวของตัวเองสูง ผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจและใจแคบมักจะมองว่าเด็กดื้อ

2. คนเราจิตตกได้เป็นครั้งคราว อาจทำอะไรที่ไม่เหมาะสมได้ การรู้ตัวเองและให้อภัยตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

3. คนอกหักไม่อาจตัดความโศกเศร้าได้ด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเยียวยาความรู้สึกดังกล่าว

4. ให้เคารพแนวคิดของผู้อื่นบ้าง เสมือนหนึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ต่างไปจากเราเท่านั้นเอง

5. ตนเองเสียเมื่อไหร่ที่คิดดี คิดชอบเป็นอยู่คนเดียว

6. ทำไปเพราะไม่รู้ ให้อภัยกันได้ รู้แล้วยังทำ คือ ความดื้อ

7. ก่อนที่จะว่ากล่าวถึงนิสัยไม่ดีของลูกนั้น ให้มองตัวพ่อแม่เองก่อนด้วยว่า เรามีส่วนผลักดันให้เขาเป็นเช่นนั้นด้วยหรือเปล่า

8. ความทุกข์ของมนุษย์ 100% เกิดจากการพยายามฝืนความจริงของธรรมชาติ

9. หากต้องอยู่กับคนที่ไม่เกรงใจกันเลย พูดกับเขาให้น้อยลง เล่นกับเขาให้น้อยลง

10. หากอยากได้อะไร ก็ควรเสียอะไรบ้าง

11. ถ้าเราปล่อยให้โลก เร่งตัวเรา ควบคุมตัวเรา จนเราขาดอิสระภาพ เราก็จะทุกข์ ถ้าเราจะเร่งโลก ควบคุมโลกให้โลกนี้เป็นไปตามความต้องการของเรา เราก็ทุกข์เช่นกัน

12. ความฉลาดอาจหลอกคนได้ ความจริงใจต่างหากที่จะชนะใจคน

13. การให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์มากไป ทำให้เราลืมธรรมชาติ ลืมความเป็นจริงได้ง่าย

14. อารมณ์เป็นตัวกำหนดความคิด ความคิดกำหนดพฤติกรรม หากจะเข้าใจพฤติกรรมของคนให้ถูกต้อง จึงต้องอ่านอารมณ์ให้ออก

15. การมองอะไร ว่าดี ว่าเลว ขึ้นกับว่าอารมณ์ของเราขณะนั้นเป็นอย่างไร

16. ทำอะไรก็แล้วแต่ ควรมีหลักการบ้าง แต่ต้องระวังอย่ายึดเป็นกฎเกินไป

17. อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิดเป็นคำพื้นๆ ที่ใช้มาเตือนสติเราได้ดีตลอดกาล

18. การพยายามทำอะไรทุกอย่างให้ได้ การสงสัยอะไรทุกเรื่องเป็นความโง่ได้ก็เพราะว่าเรื่องต่างๆ ในโลกนี้มีตั้งหลายเรื่องที่ใช่ว่าเราจะรู้มันได้ง่ายและเรื่องอีกหลายเรื่องก็ไม่จำเป็นที่ต้องตอบให้ได้ด้วย

19. คุณธรรมส่อคุณค่าของมนุษย์มากกว่าความฉลาด

20. อะไรก็ตามแต่แม้ว่ามันจะจริง จะถูกต้อง แต่ถ้าการพูดออกไปนั้น มันไม่มีประโยชน์มีแต่ผลเสีย อย่าพูดดีกว่า

21. การขาดความเกรงใจต่อกัน ทำให้เราทะเลาะกันได้ง่าย การมีความเกรงใจต่อกันที่มากเกินไป ก็ทำให้เราไม่เป็นตัวของตัวเอง

22. ใครที่เขากล้าพูดความจริงกับเราออกมา นั่นก็เพราะเขามีความเชื่อมั่นว่าเราจะยอมรับเขาได้

23. การฝึกวินัยให้กับลูกนั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นการฝึกวินัยให้กับพ่อแม่ด้วย

24. หากลูกเป็นคนเฉื่อยชา เราคงต้องช่วยกระตุ้นให้กำลังใจ หากลูกเป็นคนเอาจริงเอาจังเกินไป เราคงต้องช่วยสอนให้ลูกได้ปล่อยวางบ้าง กฎเกณฑ์การเลี้ยงลูกของคนๆ หนึ่ง จึงไม่เหมือนของอีกคนๆหนึ่ง

25. เมื่อคิดจะเสนอความคิดเห็นต่างๆ ที่มองว่าดี ต้องมองถึงความเป็นจริง ความเป็นไปได้ด้วยเสมอ

26. แต่ละคนมีศักยภาพของตัวเองอยู่แล้ว เราจึงควรต้องให้เกียรติต่อกันบ้าง

27. เมื่อเป็นคนก้าวร้าวคนอื่นไม่เป็น ก็มักจะถูกคนอื่นรุกรานได้ง่ายเช่นกัน

28. ถ้าเราเชื่อเรื่องกรรม การตายก็ไม่ใช่วิธีการหนีปัญหาได้ตลอดไป เนื่องจากกรรมนั้นๆ ยังไม่ได้ชดใช้ จนหมดวาระในตัวของมันเอง เกิดชาติหน้า กรรมเก่าก็จะติดตัวต่อไปอยู่ดี

29. การมองปัญหาในแง่มุมต่างกัน ในจุดต่างกันจะทำให้เข้าใจปัญหาได้ต่างกัน

30. เราจะให้อภัยตัวเอง กับผู้อื่นได้นั้น เราต้องเข้าใจในตัวเองและผู้อื่นได้ก่อน

31. การแก้ปัญหาทางบุคลิกภาพต้องอาศัยทั้งความจริงใจและการอดทนเป็นอย่างยิ่ง

32. ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นเรื่องที่ดี แต่..ปัจจัยแห่งความสำเร็จนั้นก็หาได้ขึ้นอยู่กับเราคนเดียวไม่

33. เวลาที่พ่อแม่จะสะกิดฝีหนองให้ลูกนั้น พ่อแม่เองก็เจ็บปวดไม่น้อย

34. บางครั้งเราต้องการให้คนอื่นมาเข้าใจเรา มากกว่าที่เราอยากจะเข้าใจตัวเอง นั่นก็เพราะว่า เรายังเป็นมนุษย์ที่ยังมีความอ่อนแออยู่บ้าง

35. เรื่องที่คนเราประทับใจ มักจะลืมเลือนได้ยาก ก็เนื่องจากความประทับใจ ไม่ใช่ความจำนั่นเอง

36. จะมีเราอยู่.....เขาก็เป็นอย่างนั้น
ไม่มีเราอยู่.....เขาก็เป็นอย่างนั้น

37. หากเขาคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง จริงๆ แล้ว เราเป็นได้แค่เพียงตัวกระตุ้นเท่านั้น

38. ถ้าเราเรียนรู้ธรรมะด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว เราจะสัมผัส "การรู้" ได้ยากยิ่ง

39. ความสับสนในชีวิดมันเกิด ควรหาที่ยึดเหนี่ยวให้จิตใจได้พักเสียบ้าง

40. เรื่องของชีวิต มันมีจังหวะที่ต้องรอคอยอยู่บ้าง จะเรียกร้องให้มันได้ดั่งใจเสมอไปได้อย่างไร ความจริงใจ หากถูกแปลเป็นแง่ลบแล้ว ใครยังอยากจะกล้าจริงใจให้อีก

41. เพราะความอยาก..มันถึงได้วุ่นวายกันเพียงนี้

42. ไม่ใช่ว่า ห้ามโกรธ แต่ให้รู้ว่าโกรธ ไม่ใช่แสดงความโกรธแต่ให้พูดออกมาว่าโกรธ

43. จิตและอารมณ์เป็นของแท้ ความคิด คือ ตัวปรุง

44. หากเชื่อว่า "การบ่น" จะทำให้ลูกนิสัยดีขึ้นก็น่าจะลองดู ในเมื่อความเป็นจริงนั้น "การบ่น" มักจะยิ่งทำให้ลูกแย่ลงมากกว่าเดิมเสียอีก

45. ใครเขาจะเป็นอย่างไรก็ช่าง มันอยู่ที่..เรารู้สึกอย่างไรด้วยต่างหาก

46. หากพ่อแม่คาดหวัง อยากจะให้ลูกเป็นคนดีนั้น พ่อแม่ต้องช่วยให้ลูกเป็นคนดีด้วย (อย่าเพียงแต่หวัง)

47. พ่อแม่ หากมีความรักลูกมากไปแล้ว ก็ยากที่จะสอนวินัยให้กับลูกได้ดี

48. การเข้าใจคนอื่นได้ เป็นเรื่องที่ดี การเข้าใจตนเองได้ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี เรื่องที่แย่ และก่อให้เกิดทุกข์ได้มากก็ คือรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจเราเลย

49. กังวล เกินกว่าเหตุ..เชื่อมั่น มากเกินไป..ล้วนเป็นสิ่งที่เราต้องรู้จักตนเองอยู่เสมอ

50. การเร่งแก้ปัญหา โดยรีบคิดให้ตกทันที จะยิ่งสร้างปัญหาทางอารมณ์ได้มากยิ่งขึ้น

กำลังใจดีๆ ให้ตัวเอง

.. ไม่มีใครเกิดมาไร้ค่า
แม้แต่คนโง่ที่สุดยังฉลาดในบางเรื่อง
และคนฉลาดที่สุด
ก็ยังโง่ในหลายเรื่อง ..

.. ไม่มีอะไรเสียเวลาไปมากกว่า
การคิดที่จะย้อนกลับไปแก้ไขอดีต

ไม่เคยมีอะไรช้าเกินไป
ที่จะทำใหสิ่งที่ตนฝัน ..

.. คนที่ไม่เคยหิว
ย่อมไม่ซาบซึ้งรสของความอิ่ม

ความสำเร็จที่ผ่านความล้มเหลว
ย่อมหอมหวานกว่าเดิม ..

.. อันตรายที่สุดของชีวิตคนเราคือ การคาดหวัง
อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่
เหตุผลขอคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่เหตุผลของคน
อีกคนนึง ถ้าคุณไม่ลองก้าว คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่า
ทางข้างหน้าเป็นอย่างไร
ปัญหาทุกอย่างล้วนอยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น
ยินดีกับสิ่งที่ได้มา และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป
หลังพายุผ่านไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ
มีแต่วันนี้ที่มีค่า ไม่มีวันหน้า วันหลัง ..

.. คนเรา
ไม่ต้องเก่งไปทุกอย่าง
แต่จงสนุกกับงานทุกชิ้น
ที่ได้ทำ ..

หัวใจของการเดินทางไม่ได้อยู่ที่จุดหมาย
หากอยู่ที่ประสบการณ์สองข้างทาง .. มากกว่า

หมดหวังท้อแท้ในชีวิต..คิดอย่างไรให้ใจสู้

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาของชีวิต..
หลายคนคงผ่านบทเรียนแห่งชีวิตมานับไม่ถ้วน..
ทั้งบทเรียนแห่งความผิดหวัง..
บทเรียนแห่งความท้อแท้..แพ้ชีวิต..
บทเรียนแห่งความสำเร็จ..

ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนใด ๆ ก็ตาม..
เมื่อเราเกิดความผิดหวัง...ท้อแท้..ในชีวิต..
เราต้องพยายามปรับใจ..วางใจให้ถูก..
ด้วยวิธีการคิดที่จะปรับเปลี่ยน..ชีวิตของเรา..
ให้มีกำลังใจ..สู้ต่อไป..

๔ วิธีคิดที่จะสร้างพลังใจให้สู้ คือ..
วิธีที่ ๑ คิดแบบตรงกันข้ามกับความรู้สึกในขณะนั้น เช่น
>>>…ถ้าทุกข์ ก็คิดสร้างสุข
>>>…ถ้ายากก็คิดแบบง่าย...
>>>…ถ้าเกิดปัญหา ก็คิดแก้ปัญหา..

วิธีที่ ๒ คิดแบบสร้างกำลังใจ เช่น
>>>…ปลุกปลอบใจตนเอง...ทุกครั้งที่เกิดความท้อแท้..ผิดหวัง
>>>…บอกตนเองเสมอว่า..เราต้องทำได้..เราต้องทำได้อย่างแน่นอน..
>>>…เราต้องทำได้แน่นอนที่สุด..ไม่มีคำว่า..ทำไม่ได้..
>>>…ท่องไว้ในใจว่า..ไม่มี ไม่เป็น ไม่เหนื่อย...
>>>….ไม่ทุกข์ ไม่ท้อ ไม่หนี ไม่มีปัญหา...

วิธีที่ ๓ คิดแบบมีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว.. >>>…หากยังไม่ประสบความสำเร็จ..
>>>…ก็จะไม่เลิก ลด ละ ความเพียรพยายาม..
>>>…จงสู้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ..
>>>…แม้จะเป็นวินาทีสุดท้ายของลมหายใจก็ตาม..

วิธีที่ ๔ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก..
>>>…มองปัญหาออก..แก้ปัญหาเป็น..
>>>…คิดการใหญ่...ใช้คนเป็น..รู้เห็นตามความถูกต้อง..
>>>…มุ่งปรองดอง...รักษาน้ำใจ..สร้างมิตรภาพ..
>>>…อย่าลืมว่า.. “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” ...
>>>…ต้องคิดดี..ทำดี..พูดดี..ทุกที่ทุกเวลา...

ดังนั้น..
ถ้าท้อแท้..หมดหวังในชีวิต..
จงพยายามคิดให้ใจสู้...
อย่าเชื่อว่า...เราทำไม่ได้..ถ้ายังไม่ได้ลงมือทำ..
อย่าท้อแท้..ตราบใดที่เรายังไม่ได้พยายาม..
อย่าสิ้นหวัง...ตราบใดที่เรายังมีกำลังใจ..
อย่าแพ้ชีวิต...ตราบใดที่ใจของเรายังมีหวัง..
จงอย่าทำลายความหวัง...เพียงเพราะ....
การดูหมิ่นตนเองว่า... “ทำไม่ได้”...

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อบกพร่องทางใจ 10 ประการ

ข้อบกพร่องทางใจ 10 ประการ

ข้อบกพร่องแห่งการกระทำจะต้องลงแรงเปลี่ยนแปลงจากใจ อย่าให้ได้ คืบคลานยืดยาดเป็นภัยต่อเราอีกต่อไป
ข้อที่1. สับสน ปากไวใจร้อน รีบพูด รีบทำ ใจรนกลัดกลุ่ม บัลดาลโทสะง่าย
ข้อที่2. ดูแคลน พูดช้า เชื่องซึม ทำงานช้า รับรู้ช้า เกียจคร้านจนเป็นนิสัย มีก็บอกว่าไม่มี เรื่องจริงกลายเป็นเรื่องเท็จ
ข้อที่3. โง่เขลา ไม่รู้ที่มาของเรื่องราว ไม่สามารถแยกแยะเรื่องถูกผิด คล้อยตามผู้อื่นไม่ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ
ข้อที่4. มิจฉา เจตนาดีกลายเป็นเจตนาร้าย เจตนาร้ายกลับคล้อยคาม ปั้นน้ำเป็นตัว เอาอย่างในสิ่งที่ไม่ดี
ข้อที่5. ลังเล บำเพ็ญธรรมแต่ไม่กระจ่างต่อหลักธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม ไม่มีจุดยืนเป็นของตนเอง
ข้อที่6. ฟั่นเฟือน หูตาไม่กว้างไกล ฟังคำเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา รู้อะไรงูๆปลาๆ ดูแต่รูปลักษณ์ภายนอก พูดจาโอ้อวดตนทำงานไม่เป็นระเบียบ ไม่เข้าใจในเนื้อหาสาระที่แท้จริง ไม่รู้ยืดหยุ่น
ข้อที่7. ระวัง ดีเกินไป น้ำใจมากไป พูดแรงเกินไป รูปงามเกินไป ทิวทัศน์งามไม่ยืนยง น้ำใจมากไปแต่คุณธรรมเปราะบาง คำพูดหนักไปจะทำลายเขา รูปงามเกินไปจะง่ายต่อการถูกทำร้าย
ข้อที่8. อันตราย เจตนาเสแสร้ง หลอกว่ามีน้ำใจ ใบหน้าเย็นชา ไม่นิยมในงานบุญ พูดจาประชดประชัน รักจะชอบ ชังจะทำลาย
ข้อที่9. ฉงนสนเท่ ความดีเข้าตัว ความชั่วให้ผู้อื่น ง่ายรับทำ ยากปัดทิ้ง ไร้ความเสมอต้นปลาย ทำงานเอาหน้า ขายผ้าเอาหน้ารอด แสวงหาความสบาย แต่ใจสับสน
ข้อที่10. ผิดบาป เห็นผลประโยชน์เป็นโลภ นิยมในวัตถุ มักมากในกาม รักตัวกลัวตาย เปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อม ได้ใหม่ลืมเก่า ปัดภาระให้พ้นตัว
ที่มา : พระวจนะแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์